Show & Share Best Practice การปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ประจำเดือนมิถุนายน

วัน-เวลาที่จัดกิจกรรม

วันพุธที่ 30 มิถุนายน 2564

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

งานพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์กร โทรศัพท์ 73850​

เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด เทคนิควิธี และแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาและยกระดับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดนวัตกรรมการปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ และนำองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง มหาวิทยาลัยจึงกำหนดจัดกิจกรรม Show & Share Best Practice การปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ประจำเดือนมิถุนายน

ในการนี้ ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรจึงขอเรียนเชิญพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ผู้ที่สนใจ ได้ให้เกียรติเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใต้หัวข้อที่ท่านสนใจ ดังนี้

Previous slide
Next slide

เวลา 09.00 - 12.00 น.
หัวข้อ "เส้นทางการจัดทำผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่ง"

นายโกสินธุ์ ศิริรักษ์

นางสาวแสงนภา ตันสกุล

นางณัชธัญนพ สุขใส

Link Zoom

Meeting ID: 929 3346 8286

Passcode: 918546

เวลา 13.30 - 16.00 น.
หัวข้อ "Show & Share Best Practice การปฏิบัติงาน"

นางสาวนาฏนรา ช่วยสถิตย์

เรื่อง Easy Filing System หาง่าย เจอไว ไว้ใจการจัดเอกสารบน Google Sheet

นางสาวปานชุติ ภู่ภูริธรรม

เรื่อง Notification System จอง + แจ้ง + เตือน

Link Zoom

Meeting ID: 966 7122 7190

Passcode: 480056

กิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น

Upcoming Activities

กิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น

โครงการฝึกอบรม

หลักสูตร “กลยุทธ์การแก้ไขปัญหากรณีการประสานงานร่วมระหว่างหน่วยงาน”

Past Activities

กิจกรรมที่เสร็จสิ้นแล้ว

"Fast & Furious #12"

 เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานสายสนับสนุน ประจำเดือนมิถุนายน

Show & Share Best Practice

การปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ประจำเดือนมิถุนายน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด เทคนิควิธี และแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน

ฐานข้อมูลนักวิชาการ/วิจัย ผู้เชี่ยวชาญ

Scholars/Researchers and experts Database.

ฐานข้อมูลนักวิชาการ/วิจัย ผู้เชี่ยวชาญ

NRIIS

NRIIS

ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ National Research and Innovation Information System

BIODATA

ฐานข้อมูลนักวิชาการประเทศไทย
Thailand Scholars Database

Fast & Furious #12 เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานสายสนับสนุน ประจำเดือนมิถุนายน

"Fast & Furious #12" เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานสายสนับสนุน ประจำเดือนมิถุนายน

What's on this month!

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้พนักงานสายสนับสนุน (พนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป) ได้จัดทำผลงานสำหรับใช้ในการขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพหรือสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2564  ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรร่วมกับศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาจึงกำหนดจัดชุดโครงการภายใต้ชื่อกิจกรรม “Fast & Furious #12” เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานสายสนับสนุน ประจำเดือนมิถุนายน โดยมีรายละเอียดกิจกรรมดังลิ้งด้านล่าง

ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์กร โทร. 73850

รายละเอียดกิจกรรม

Workshop

Workshop การเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน  (ใช้ระบบ zoom) ในวันพุธที่ 9 และวันพุธที่ 16 มิถุนายน ระหว่างเวลา 09.00 - 12.00 น.

เวทีการเขียนผลงาน

เวทีการเขียนผลงาน (ห้องประชุมเขาหลวง และห้องประชุมโมคลาน) ในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 12 - 13 และ 26 - 27 มิถุนายน ระหว่างเวลา 09.00 - 16.00 น.

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานสายสนับสนุน (ครั้งที่ 2)  (ใช้ระบบ zoom) ในวันพุธที่ 23 มิถุนายน ระหว่างเวลา 09.00 - 12.00 น.

ชุดโครงการโดยศูนย์บรรณสารฯ

ชุดโครงการโดยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (ใช้ระบบ zoom และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์) ในวันที่ 21, 25, 28,29 และ 30 มิถุนายน ประกอบด้วย การทำ Flowchart / การทำผลงานวิชาการด้วย Word / การออกแบบ Cover Template / การอ้างอิงและจัดทำบรรณานุกรม / การใช้ EndNote X9 / เทคนิคการใช้ Word ในการทำคู่มือปฏิบัติงาน

ประกาศรับสมัครพนักงานสายวิชาการ สาขาวิชารัฐศาสตร์ (การเมืองการปกครอง) สังกัดสำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา

ด้วยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความประสงค์รับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลทั่วไปเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานสายวิชาการ ตำแหน่งอาจารย์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ (การเมืองการปกครอง) สังกัดสำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ทำหน้าที่สอน วิจัย พัฒนางานด้านวิชาการ และบริการวิชาการ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. คุณสมบัติทั่วไป

1.1  ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 11 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2561

1.2 เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่เน้นการวิจัย

1.3 คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.75 ระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าไม่ต่ำกว่า 3.50 กรณีหลักสูตรพิเศษที่มีปีการศึกษาเทียบเท่าระดับปริญญาโทหรือปริญญาตรีหลักสูตร 6 ปี เช่น หลักสูตรแพทยศาสตร-บัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และเภสัชศาสตรบัณฑิต ไม่ต่ำกว่า 3.25

1.4 มีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ คือ TOEFL (Paper-Based) ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน หรือผลสอบอื่นที่เทียบเท่า ซึ่งมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับจนถึงวันสมัคร ดังนี้

CEFR B2/ WU-TEP 84/ IELTS 6.5/ TOEFL IBT (Internet-Based Test) 80/ TOEFL PBT (Paper-Based Test) 550/ TOEFL ITP (Institutional Testing Program) 550/ TOEIC 686/ TOEFL CBT (Computer-Based Test) 213/ CU-TEP 100

กรณีผู้สมัครที่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ TOEFL (Paper-Based) ต่ำกว่า 550 คะแนน แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน มหาวิทยาลัยอนุโลมให้เข้ารับการคัดเลือกเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยได้ และเมื่อได้รับการคัดเลือกจะต้องทำสัญญาจ้างโดยมีเงื่อนไข ดังนี้

1) ต้องลงเรียนภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะผ่านตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

2) ต้องส่งผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ TOEFL (Paper-based) ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน ภายในระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย

 

สำหรับผู้สมัครที่มีคุณลักษณะต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษ

1) ตำแหน่งงานที่มหาวิทยาลัยจ้างงานประเภทลูกจ้างชั่วคราว

2) ชาวต่างชาติเจ้าของภาษาที่ได้รับการคัดเลือกและให้บรรจุเป็นอาจารย์สอนภาษานั้น ๆ 

3) อาจารย์กลุ่มภาษาตะวันออก (ยกเว้นภาษาไทย))  

4) ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารหรือศึกษาในหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ

5) ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารหรือศึกษาในหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ  

6) ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหลักสูตรนานาชาติในประเทศ  จะต้องผ่านเกณฑ์ผลการสอบภาษาอังกฤษในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกหรือสอบเพื่อสำเร็จการศึกษาด้วยคะแนน TOEFL (Paper-based) ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน หรือผลสอบอื่นที่เทียบเท่า 

7) ผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ. รศ. และศ.)

1.5 ผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจะต้องมีอายุไม่เกิน 30 ปี ยกเว้นผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ. รศ. ศ.) และบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ หรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือดำรงตำแหน่งประเภทอื่น ๆ  ที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นซึ่งมีระดับเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการขึ้นไปจากสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศหรือต่างประเทศ  หรือจากหน่วยงานราชการหรือองค์การของรัฐ  (กรณีผู้สมัครที่มีอายุเกิน 30 ปี หากหน่วยงานมีเหตุผลและความจำเป็นให้เสนออธิการบดีพิจารณาเป็นกรณีไป)

1.6 กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยที่อยู่ใน World University Ranking  แต่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 1.3 ให้เป็นอำนาจของอธิการบดีที่จะพิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณี

 

หมายเหตุ : ผู้สมัครที่ไม่มีผลสอบภาษาอังกฤษหรือมีแต่ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด หรือมีเกรดเฉลี่ยสะสมต่ำกว่าที่กำหนด หรือผู้มีวุฒิปริญญาโทแต่อายุเกิน 30 ปี  สามารถสมัครได้ โดยสำนักวิชาอาจเสนอจ้างเป็นอาจารย์สัญญาจ้าง 1 ปี โดยพิจารณาเป็นรายกรณี ๆ ไป

 

  1. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง

            2.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก สาขาการเมืองการปกครอง

2.2 มีผลงานวิชาการทางด้านการเมืองการปกครอง การปกครองท้องถิ่น การบริหารงานราชการไทยหรือกระบวนการนโยบายสาธารณะที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

2.3 มีความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระดับดี-ดีมาก

2.4 มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษทุกทักษะในระดับดี-ดีมาก

 

  1. คุณสมบัติอื่น ๆ

3.1 ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

                         –  มีประสบการณ์การสอนในระดับมหาวิทยาลัยหรือในสถาบันอุดมศึกษาและหรือวิจัยในสาขาวิชาที่กำหนด

                          –  มีตำแหน่งทางวิชาการหรือมีผลงานทางวิชาการ

3.2 เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานประจำเต็มเวลาได้

3.3 เป็นผู้ใฝ่รู้และมีความตั้งใจจริงในการทำงาน รวมทั้งต้องสามารถทุ่มเทและอุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย

3.4 เป็นผู้ที่มีความเข้าใจและยอมรับเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพการทำงานและเงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

 

  1. อัตราเงินเดือน

            4.1 วุฒิปริญญาเอก  อัตราเงินเดือนเริ่มต้น 40,000 บาท

4.2 วุฒิปริญญาโท   อัตราเงินเดือนเริ่มต้น 28,000 บาท

         ทั้งนี้อัตราเงินเดือนที่จะได้รับมหาวิทยาลัยจะพิจารณาตามคุณวุฒิการศึกษา ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

 

  1. สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล

            สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลที่พนักงานมีสิทธิ์ได้รับตามระเบียบประกาศข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในแต่ละกรณีมีดังต่อไปนี้

            (1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

            (2) ค่ารักษาพยาบาล

            (3) การตรวจสุขภาพประจำปี

            (4) ประกันภัยอุบัติเหตุ

            (5) ค่าเล่าเรียนบุตร

            (6) เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรศึกษาในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

            (7) เครื่องราชอิสริยาภรณ์

            (8) รถรับ – ส่ง

            (9) ที่พักบุคลากร/เงินช่วยเหลือค่าที่พัก

            (10) เครื่องแบบพนักงานและเงินช่วยเหลือค่าเครื่องแบบ

            (11) เงินยืมเพื่อซื้อคอมพิวเตอร์

            (12) เงินกู้เพื่อการเคหะสงเคราะห์พนักงาน

            (13) เงินช่วยเหลือชดใช้ทุนและหรือเบี้ยปรับ

            (14) ค่าทำขวัญและค่าทำศพ

            (15) เงินชดเชย

            (16) ฌาปนกิจสงเคราะห์ (ช.พ.ค. – ช.พ.ส.)

            (17) สโมสรวลัยลักษณ์

            (18) สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

            (19) ศูนย์กีฬาและสุขภาพ

            (20) กองทุนเงินทดแทนและประกันสังคม 

 

  1. เอกสารและหลักฐานการสมัคร

         6.1 ใบสมัครที่กรอกข้อความสมบูรณ์แล้ว  พร้อมติดรูปถ่ายหน้าตรง  ไม่สวมหมวกและไม่ใส่แว่นตาสีดำ ขนาด 1 นิ้ว  ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน  จำนวน 1 รูป

         6.2 สำเนาใบปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร  และสำเนาใบแสดงผลการเรียน  (Transcript of records)

ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป  จำนวนอย่างละ 1 ฉบับ

         6.3 สำเนาผลทดสอบภาษาอังกฤษ  จำนวน 1 ฉบับ

         6.4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือหนังสือสำคัญประจำตัว  จำนวน 1 ฉบับ

         6.5 สำเนาทะเบียนบ้าน  จำนวน 1 ฉบับ

         6.6 สำเนาหลักฐานอื่น ๆ เช่น  ใบทะเบียนสมรส  ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล  เป็นต้น  จำนวน 1 ฉบับ

         6.7 ผู้สมัครที่ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้วจะต้องมีหลักฐานผ่านการเกณฑ์ทหาร  จำนวน 1 ฉบับ

        

ผู้สมัครต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องในสำเนาเอกสารทุกฉบับ   หากปรากฏภายหลังว่าผู้สมัครรายใดมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในประกาศรับสมัครแล้วให้ถือว่าผู้สมัครรายนั้นขาดคุณสมบัติในการสมัครและไม่มีสิทธิ์เข้ารับการสอบคัดเลือกหรือบรรจุเป็นพนักงาน

 

  1. การสมัคร

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบคัดเลือกเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย สามารถขอรับใบสมัครและยื่นใบสมัครได้

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป  ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. (เว้นวันหยุดราชการ)  ได้ที่

            (1)  หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร

                  อาคารเอสเอ็ม ทาวเวอร์ ชั้น 19   เลขที่ 979/44-46 (ตรงข้าม ททบ.5 สนามเป้า)

                  ถนนพหลโยธิน  แขวงสามเสนใน  เขตพญาไท  กรุงเทพฯ   10400

                  โทร. 0-2298-0244-5  โทรสาร 0-2298-0248    

            (2)  ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร  สำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  จังหวัดนครศรีธรรมราช

                  222  ตำบลไทยบุรี  อำเภอท่าศาลา  จังหวัดนครศรีธรรมราช   80160

                  โทร. 0-7567-3745   โทรสาร 0-7567-3708

หรือกรณีที่ผู้สมัครไม่สะดวกที่จะมาขอรับใบสมัครหรือมาสมัครด้วยตนเอง  สามารถสมัครทางไปรษณีย์ได้

โดย download  ใบสมัครพนักงานสายวิชาการได้ที่

https://hro.wu.ac.th/wp-content/uploads/2019/04/1.Renew-Application-Form-WU.pdf

แล้วส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานการสมัครไปที่  อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  222  ตำบลไทยบุรี   อำเภอท่าศาลา  จังหวัดนครศรีธรรมราช  80160  วงเล็บมุมซองว่าสมัครอาจารย์

 

  1. การดำเนินการคัดเลือก

มหาวิทยาลัยจะดำเนินการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามขั้นตอนดังนี้

            8.1 ขั้นตอนที่ 1  พิจารณาประเมินคุณวุฒิการศึกษา  ผลการศึกษา  ประสบการณ์  ผลงานทางวิชาการ และสาขาวิชาของผู้สมัครให้ตรงกับลักษณะงานวิชาการของตำแหน่งที่จะบรรจุ   

            8.2 ขั้นตอนที่ 2

                   (1)  เมื่อผู้สมัครผ่านขั้นตอนที่ 1 แล้ว กำหนดให้ผู้สมัครนำเสนอผลงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ในเวลา 10 นาที  เพื่อพิจารณาประเมินความสามารถในการนำเสนอ การถ่ายทอดความรู้ ความสามารถด้านวิชาการ และศักยภาพในการเป็นนักวิชาการที่ดี  ในกรณีที่ผู้สมัครมีประสบการณ์และผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ชัด อาจพิจารณายกเว้นไม่ต้องนำเสนอผลงานวิจัยหรือวิชาการดังกล่าวได้โดยจะพิจารณาเฉพาะกรณีไป

                   (2)  ดำเนินการสัมภาษณ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น  ทัศนคติ ความสนใจทางวิชาการ  ความตั้งใจจริง  การแสดงออก  มนุษยสัมพันธ์  และบุคลิกภาพอื่น ๆ  เป็นต้น

 

  1. การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ กำหนดการสอบ และการประกาศผลการคัดเลือก

            (1) มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ที่จะประกาศรายชื่อผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยเป็นคราว ๆ ไป ตามจำนวนและระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยเห็นสมควร  โดยจะทำการประกาศรายชื่อ      ผู้มีสิทธิ์สอบ  กำหนดการสอบ  และผลการคัดเลือกผ่านทางเว็บไซต์ และประกาศของมหาวิทยาลัย

            (2) มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ที่พิจารณาประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบหรือเชิญผู้สมัครมาสอบคัดเลือกหรือไม่ก็ได้ตามความเหมาะสม

 

  1. เงื่อนไขอื่น ๆ

            10.1 ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับการเรียกตัวเข้าปฏิบัติงานแต่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ทันทีในเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ในคราวนั้น

            10.2 ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกและขึ้นบัญชี “สำรอง” ไว้ มหาวิทยาลัยจะเรียกตัวต่อเมื่อได้เรียกตัวผู้ผ่านการคัดเลือก “ตัวจริง” แล้วตามลำดับ   และหรือมหาวิทยาลัยอาจจะพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม

            10.3 มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครได้ตามความเหมาะสม

            10.4 มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกและตรวจสอบเอกสารและหลักฐานการสมัครอื่น ๆ ในภายหลังตามความเหมาะสมได้

            10.5 การปลอมแปลงหลักฐานและเอกสารการสมัครอาจมีความผิดตามกฎหมาย  มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์

ที่จะไม่พิจารณาให้เข้ารับการสอบคัดเลือกหรือบรรจุเป็นพนักงาน

            10.6 ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับการคัดเลือกเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานและลูกจ้างของมหาวิทยาลัยจะต้องตรวจสุขภาพร่างกายและตรวจทางจิตวิทยา และจะต้องมีใบรับรองแพทย์จากสถาบันการแพทย์ของรัฐหรือที่รัฐรับรอง โดยเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่างเองและส่งใบรับรองแพทย์ตามกำหนดระยะเวลาดังนี้

                        (1) การตรวจสุขภาพสำหรับโรคที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 แห่งประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่องโรคที่มีลักษณะต้องห้ามเป็นพนักงานและลูกจ้างของมหาวิทยาลัย การตรวจสุขภาพร่างกายและการตรวจทางจิตวิทยา พ.ศ.2562 ยกเว้นข้อ 6(6) ให้ส่งใบรับรองแพทย์ให้มหาวิทยาลัยภายในกำหนดระยะเวลาตามหนังสือที่มหาวิทยาลัยแจ้งให้มารายงานตัวเพื่อปฏิบัติงาน

                        (2) การตรวจประเมินโรคทางจิตเวช ให้ส่งใบรับรองแพทย์ภายใน 4 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของมหาวิทยาลัย

มวล. ทำประกัน COVID-19 ให้พนักงานและขอเชิญชวนพนักงานทำประกัน COVID-19 ให้ครอบครัว

**หมายเหตุ**

ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีอายุไม่เกิน 80 ปี เท่านั้น

For employee who are interested to apply your their family or relatives who are currently live in Thailand. Please transfer the amount THB140 per person to the account number in the green box and fill in the form in the below QR code.

สแกน QR Code เพื่อกรอกแบบฟอร์ม

Scan this QR for the application.

การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

ประจำปี พ.ศ. 2565

This is the heading

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here

การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

             เพื่อให้แผนการบริหารงานบุคคล มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ฝ่ายบริหารและส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการปรับปรุงข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศเกี่ยวกับงานบุคคล เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อเป็นกลไกการสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ขอมหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันการศึกษากลุ่มที่สร้างองค์ความรู้แห่งอนาคต (frontier research) และเป็น “1 ใน 100 มหาวิทยาลัยของโลก ในปี พ.ศ. 2570”  โดยที่การดำเนินงานตามนโยบายการบริหารงานบุคคล ตามที่สภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารงานบุคคล และฝ่ายบริหารมอบหมายให้ดำเนินการ สรุปภาพรวมในด้านต่าง ๆ ดังนี้

การวางแผนทรัพยากรบุคคล

  1. การวางแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล
เนื่องจากยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง จึงกำหนดเป้าประสงค์ให้พัฒนาทุนมนุษย์สู่องค์กรสมรรถนะสูง และด้วยเหตุที่ปัจจุบันเกิดภาวะการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันสูง ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงกำหนดนโยบายและมอบหมายให้ฝ่ายบริหารและส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารงานบุคคลให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย โดยให้ทุกฝ่ายทั้งผู้บริหารและบุคลากรในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมวิเคราะห์กำหนดแผน ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการจัดทำร่างแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีงบประมาณ 2564 – 2567 เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เบื้องต้น ได้นำเสนอร่างแผนกลยุทธ์ฯ ดังกล่าวต่อ คณะกรรมการบริหารและพัฒนาบุคลากร และคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พิจารณาให้ความเห็นชอบเพิ่มเติมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสามารถจัดทำเป็น WU HR Strategic Model ดังนี้

1 ใน 100 มหาวิทยาลัยระดับโลก (Young University)

1. ความเป็นเลิศทางวิชาการ 2. มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรสมรรถนะสูง 3. การเรียนการสอนมีมาตรฐานสากล
4. นักศึกษามีคุณภาพมีความสามารถในการแข่งขัน 5. เมืองมหาวิทยาลัยสีเขียวแห่งความสุข 6. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
7. สินทรัพย์สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม 8. เป็นเสาหลักด้านสุขภาวะในภาคใต้ 9. นักศึกษามีศักยภาพด้านกีฬาและสุขภาพ

ธรรมัตตาภิบาล (Self Good Governance) 

ความเป็นอิสระ หลักนิติธรรม หลักความคุ้มค่า
เสรีภาพทางวิชาการ หลักคุณธรรม หลักการมีส่วนร่วม
ความรับผิดชอบต่อสังคม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ

ภาพที่ 1 ตัวแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

(WU HR Strategic Model)

  1. การวิเคราะห์ภาระงานและอัตรากำลัง
มีการวิเคราะห์ภาระงานและอัตรากำลัง โดยคณะกรรมการตามองค์ประกอบที่มหาวิทยาลัยกำหนด                  ตามระบบ Workforce Planning คำนึงถึงเป้าหมายองค์กรระดับมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน ให้หน่วยงานเสนอหลักการและเหตุผลตามความจำเป็นหรือเสนอทั้ง “แผนงาน แผนเงิน และแผนคน” เพื่อให้ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์การพัฒนา และคณะกรรมการชุดดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสม แล้วกำหนดเป็นแผนกรอบอัตรากำลัง เพื่อสรรหาและคัดเลือกพนักงานสายวิชาการ และสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป  ให้เป็นตามสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งตามแผนการประชุมคณะกรรมการ กำหนดเดือนละ 1 ครั้ง และในรอบปีจัดประชุมตามแผนปกติ รวม 12 ครั้ง  และกำหนดกรอบอัตรากำลังไว้เป็นแผนดำเนินงานด้านบุคลากรที่บรรจุอยู่ในแผนการใช้งบประมาณด้วย
  1. การปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงาน
เพื่อให้โครงสร้างการแบ่งส่วนงานของหน่วยงานภายใต้กำกับของมหาวิทยาลัยมีความสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยจึงมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ปัจจุบันพบว่ามหาวิทยาลัยได้ออกประกาศที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ่งส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยแล้วจำนวนทั้งสิ้น 7 ฉบับ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนงานของสำนักวิชาเป็นสำคัญ สำหรับในส่วนของการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนงานของหน่วยงานสนับสนุนนั้น มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งที่ 208/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานกำหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนงานและกำหนดกรอบตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อทำหน้าที่ทบทวน วิเคราะห์ พัฒนาโครงสร้างการแบ่งส่วนงานเดิมของหน่วยงานสนับสนุน เพื่อเสนอปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อกำหนดกรอบตำแหน่งพนักงานเสนอต่อมหาวิทยาลัยพิจารณาตามกระบวนการต่อไป ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีหน่วยแจ้งความประสงค์ขอปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนงานจำนวนทั้งสิ้น 15 หน่วยงาน ดังนี้  
  1. ศูนย์บริหารทรัพย์สิน
  2. ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน
  3. ศูนย์บริการวิชาการ
  4. ศูนย์กิจการนานาชาติ
  5. ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  6. ศูนย์บริการการศึกษา
  7. สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ
  8. สถาบันวิจัยและนวัตกรรม
  9. ส่วนสื่อสารองค์กร
  10. ส่วนการเงินและบัญชี
  11. ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร
  12. ส่วนอาคารสถานที่
  13. ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม
  14. ส่วนนิติการ
  15. ส่วนอำนวยการและสารบรรณ
  1. การปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ ระเบียบและประกาศ
มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ ระเบียบและประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารงานบุคคล ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 – ปัจจุบัน ภายใต้การบริหารงานชองคณะผู้บริหาชุดปัจจุบัน 245 ฉบับ ดังนี้
ประเภท 2559 (ตั้งแต่ ก.ค.) 2560 2561 2562 2563 2564 2565 (31 มี.ค.)   รวม
ข้อบังคับ 3 1 12 5 5 5 2 33
ระเบียบ 3 5 7 3 7 25
ประกาศ 7 47 42 46 18 55 22 215
รวม 10 51 59 58 26 67 24 273

การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

          มหาวิทยาลัยมีการกำหนดเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร ซึ่งได้ดำเนินการตามระเบียบมหาวิทยาลัยว่าด้วยการสรรหา การเลือกสรร การคัดเลือกและการทดลองปฏิบัติงาน พ.ศ.2535 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการจ้างอาจารย์สัญญาจ้างปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2561 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นศาสตราภิชาน มีการตั้งคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป โดยกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการได้เสนอผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานบุคคลและสภามหาวิทยาลัยให้การเห็นชอบองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกโดยจัดทำเป็นประกาศอย่างชัดเจนและในการดำเนินการสรรหาและคัดเลือกได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเป็นไปตามองค์ประกอบที่กำหนดทุกครั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตามตำแหน่งที่ประกาศรับ พร้อมทั้งมีการประกาศรับสมัครผ่านช่องทางต่าง ๆ และแจ้งผลการดำเนินการตามระเบียบ ประกาศที่กำหนดโดยเปิดเผยทั่วไป ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการสรรหา คัดเลือกและบรรจุบุคลากรเข้าปฏิบัติหน้าที่แล้ว รวมจำนวน 107 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565) ดังนี้ 1) สายบริหารวิชาการ (ตำแหน่งคณบดี ผู้อำนวยการศูนย์/สถาบัน) จำนวน – ตำแหน่ง/ราย 2) สายวิชาการ จำนวน 36 ราย และ 3) สายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป จำนวน 71 ราย  

การบริหารผลการปฏิบัติงาน

        มหาวิทยาลัยใช้กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานประจำปีมีการมอบหมายงานจากระดับนโยบายลงสู่ระดับปฏิบัติการ มอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้บังคับบัญชาติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน ใช้วิธีการประเมินแบบวัตถุวิสัยและการสร้างทีมงาน (Objective and Teamwork Assessment) ซึ่งประเมินทั้งระดับบุคคลและระดับหน่วยงานและนำผลการประเมินไปใช้ประกอบการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบการขึ้นเงินเดือนประจำปี,การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ,การชื่นชมคุณค่าบุคลากรโดยประกาศรายชื่อพนักงานที่ได้รับผลการประเมินระดับดีเยี่่ยมให้ประชาคมวลัยลักษณ์ทราบโดยทั่วกันและมีแนวทางการกระตุ้นส่งเสริมให้พนักงานสายวิชาการตำแหน่งอาจารย์มีขวัญและกำลังใจพัฒนางานทางวิชาการ สนับสนุนการจัดการศึกษา การวิจัยโดยกำหนดเกณฑ์การให้รางวัลอาจารย์ดาวรุ่งและการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษพนักงานที่มีผลงานตามเกณฑ์พรีเมียม

การพัฒนาบุคลากร

  1. การพัฒนาอาจารย์ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพระดับอุดมศึกษาของประเทศอังกฤษ

(The UK Professional Standards Framework, UKPSF)

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ นอกเหนือจากหลักสูตรที่เปิดสอนแล้ว คุณภาพของอาจารย์ผู้สอนเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยได้นำระบบการจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานสากลและเป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป คือมาตรฐานของ The United Kingdom Professional Standards Framework (UKPSF) ประเทศอังกฤษ มาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นคณาจารย์มืออาชีพ The Higher Education Academy (HEA) หรือ Advance HE ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระระดับชาติในสหราชอาณาจักร ได้พัฒนากรอบมาตรฐานวิชาชีพระดับอุดมศึกษา UKPSF เพื่อประเมินและรับรองหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพการสอนของอาจารย์ และได้ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาจัดฝึกอบรมและประเมินคุณภาพการสอนและกำหนดวิทยฐานะของผู้ผ่านการประเมิน (Descriptors) ซึ่งมี 4 ระดับ ได้แก่ Associate Fellow, Fellow, Senior Fellow และระดับสูงสุด Principal Fellow

 

2. ในส่วนของการพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรสายวิชาการนั้น มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและการพัฒนาคุณวุฒิของพนักงานสายวิชาการที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาโทให้มีวุฒิระดับปริญญาเอกจำนวนมากขึ้น โดยการสนับสนุนทุนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และทุนที่ได้รับการจัดสรรจากหน่วยงานภายนอก พร้อมทั้งมีการสนับสนุนพัฒนาศักยภาพโดยการให้ไปฝึกอบรม ดูงานและปฏิบัติการวิจัย เพื่อให้พนักงานสายวิชาการได้มีประสบการณ์ทางการวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และสามารถนำความรู้มาพัฒนาการเรียนการสอนในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรทุนการศึกษา ดังนี้

  1. ทุนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่มีการจัดสรรประจำปีงบประมาณ
    • โครงทุนสนับสนุนบางส่วนเพื่อการศึกษาต่อระดับปริญญาสำหรับคณาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    • โครงการทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับพนักงานสายวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    • โครงการพัฒนาอาจารย์ระดับปริญญาโทเพื่อศึกษาในประเทศและต่างประเทศสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยม
  2. ทุนหน่วยงานภายนอก ซึ่งเป็นทุนที่ได้รับการจัดสรรตามความต้องการของมหาวิทยาลัยในแต่ละปี และการจัดสรรทุนจะเป็นไปตามกระบวนการคัดเลือกของหน่วยงานที่เป็นเจ้าของทุนและแหล่งทุน ดังนี้
    • ทุนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
    • ทุนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • ทุนรัฐบาลต่างประเทศ หรือทุนหน่วยงานภายนอก

ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยมีพนักงานสายวิชาการและนักเรียนทุนอยู่ระหว่างศึกษาต่อ ฝึกอบรมเฉพาะทางทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้

หน่วยงาน

ปริญญาเอก

ปริญญาโท

ฝึกอบรมวุฒิบัตร

ฝึกอบรม

แพทย์ประจำบ้าน

1. สำนักวิชาศิลปศาสตร์

3

2. สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์

4

3. สำนักวิชาการจัดการ

5

4. สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์

3

5. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

2

6. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร

1

  

7. สำนักวิชาสหเวชศาสตร์

7

8. สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์

6

9. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์

3

10. สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

1

11.สำนักวิชาเภสัชศาสตร์

9

3

3

12.สำนักวิชาแพทยศาสตร์

7

13.สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป

2

14. วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัคราชกุมารี

4

1

รวม

50

4

3

7

       

         3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปมีตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ

          มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปได้มีความก้าวหน้าในอาชีพในการเข้าสู่ตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

    1. กิจกรรมให้ความรู้ด้านการเขียนผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ
    2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ
    3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน
    4. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับแก้ไขผลงานตามข้อเสนอแนะของกรรมการประเมินภายใน
    5. คลินิกให้คำปรึกษา
    6. การสนับสนุนงบประมาณสำหรับการนำเสนอผลงานในเวทีประชุมวิชาการ
    7. จัดทำฐานข้อมูลคลังความรู้ผลงาน

             4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานสายวิชาการดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น

       มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนางานทางวิชาการในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ และสามารถขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นการวิจัยอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นที่ยอมรับและ                  มีความสามารถในการแข่งขันทางวิชาการด้านการวิจัยและนวัตกรรมกับสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมการพัฒนางานทางวิชาการของอาจารย์รุ่นใหม่และอาจารย์ที่ยังไม่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รวมถึงสร้างกลไกส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์แต่ละสำนักวิชาได้ผลิตผลงานทางวิชาการเพื่อใช้ประกอบการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการผ่านรูปแบบต่างๆ เช่น การสนับสนุนทุนวิจัยส่วนบุคคลสำหรับคณาจารย์ใหม่ การสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยผ่านสถานวิจัยของแต่ละสำนักวิชา เป็นต้น ทั้งนี้ ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 มหาวิทยาลัยมีคณาจารย์ จำนวน 719 ราย และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 39.86 ของคณาจารย์ทั้งหมด โดยมีรายละเอียดดังนี้

ที่

กลุ่มตำแหน่ง

ศาสตราจารย์

รองศาสตราจารย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อาจารย์

รวม

1

สายบริหารวิชาการ (บริหารเต็มเวลา)

(อธิการบดี/รองอธิการบดี/คณบดี)

5

4

9

2

สายวิชาการ

1

70

212

427

710

 

2.1 ดำรงตำแหน่งบริหารอีกตำแหน่ง

       (รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี)

 

5

5

 

10

 

2.2 วิชาการ

1

65

207

427

700

 

 

 

 

 

 

 

 

รวม 1+2

6

74

212

427

719

 

ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 1+2

292 คน (ร้อยละ 40.61)

 

 

 

ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 2

283 คน (ร้อยละ 39.86)

 

 

การบริหารสารสนเทศบุคคลากร (Human Resource Information System-HRMS)

       มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้ความสำคัญกับการนำระบบสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยเพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization : HPO) ได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด จึงมีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบซึ่งจะทำให้การดำเนินงานด้านต่าง ๆ เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว เป็นเชิงรุก และประหยัดทรัพยากร โดยมอบหมายให้ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรได้พัฒนาระบบสารสนเทศงานบุคคล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (WU-HRMS : Walailak University Human Resources Management  Information System) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางของมหาวิทยาลัยและให้มีระบบปฏิบัติการงานบุคคลตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยให้พนักงานส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรปฏิบัติงานบนระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital platform) อันจะส่งผลให้คุณภาพงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการ เพราะระบบงานสามารถเชื่อมโยงข้อมูลหรือออกรายงานข้อมูลไปใช้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตามความจำเป็นเพื่อบริการข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แอพพลิเคชั่นงานบุคคลได้                    ทุกสถานที่ ทุกเวลา สำหรับขอบเขตระบบงานสารสนเทศงานบุคคลนั้น ประกอบไปด้วย 16 ระบบงานย่อย (โมดูล) ได้แก่ ระบบบริหารจัดการโครงสร้างองค์กร ระบบอัตรากำลัง ระบบสรรหาและคัดเลือก ระบบบรรจุและแต่งตั้ง ระบบทะเบียนประวัติ ระบบเงินเดือนและค่าตอบแทน ระบบสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูล ระบบพัฒนาบุคลากร ระบบประเมิน ระบบความก้าวหน้าในอาชีพ ระบบบันทึกเวลาปฏิบัติงานและการลา ระบบการขึ้นเงินเดือน ระบบวินัย ระบบบริหารข้อมูลบริการตนเอง ระบบบริการข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ และแอบพลิเคชั่นงานบุคคล ซึ่งปัจจุบันเปิดใช้งานในในเฟสแรกสำหรับผู้ดูแลระบบแล้วจำนวน 4 ระบบ คือ ระบบบริหารจัดการโครงสร้างองค์กร ระบบทะเบียนประวัติ ระบบอัตรากำลัง ระบบบรรจุและแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565

 

ขอเชิญสมัครทำประกันอุบัติเหตุให้กับครอบครัวและพนักงานหรือลูกจ้างที่ใช้สิทธิเบิกสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนประกันสังคม

        เปิดโอกาสให้ครอบครัวพนักงาน รวมทั้งพนักงานและลูกจ้างที่ใช้สิทธิเบิกสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนประกันสังคมทุกท่าน สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการประกันอุบัติเหตุได้ตามความสมัครใจ ทั้งนี้พนักงานเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยเอง โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารออมสิน สาขาท่าศาลา ชื่อบัญชีส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร เลขที่บัญชี 0202 9732 4665 เพื่อชำระเบี้ยประกันพร้อมแนบหลักฐานการโอนเงิน 

โครงการ “ปฐมนิเทศบุคลากรใหม่” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (1/2564)

โครงการ “ปฐมนิเทศบุคลากรใหม่” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (1/2564)
วันพุธที่ 7 เมษายน 2564 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุม AD 3401 (ห้องประชุมศรีธรรมราช) ชั้น 3
อาคารปฏิบัติการสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

หลักการและเหตุผล
               มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่เกิดจากการเรียกร้องต้องการของประชาชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๓๓ ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยและแต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พุทธศักราช ๒๕๓๕ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ การจัดตั้งมหาวิทยาลัย ได้ทุ่มเทพลังความคิด และสติปัญญาเพื่อให้เกิดมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดทั้งด้านกายภาพและจิตภาพของความเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ ต้องใช้เวลาและต้องการ “ร่วมคิดร่วมทำ” กันทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง
ตลอดระยะเวลากว่า 28 ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ให้บริการรับใช้สังคม ชุมชนโดยการผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ สร้างสรรค์ผลงานวิจัย และถ่ายทอดงานบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง ผ่านการดำเนินงานอย่างเข้มแข็งของบุคลากรทุกระดับของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าองค์กรที่มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีชื่อเสียงนั้นจำเป็นต้องอาศัยบุคลากร ผู้ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความคิด การริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ในการปฏิบัติงานต่างๆ อันส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จ ดังนั้น เมื่อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้บรรจุบุคลากรใหม่ที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกตามระเบียบของมหาวิทยาลัยแล้ว การให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรใหม่ในส่วนของนโยบาย เป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ปรัชญา ปณิธาน แนวทางการบริหาร การพัฒนามหาวิทยาลัย ระเบียบแนวปฏิบัติตนในการทำงาน สิทธิ สวัสดิการที่บุคลากรพึงได้รับ ตลอดถึงการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรนั้น เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการที่จะส่งเสริมให้บุคลากรใหม่สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตามที่มหาวิทยาลัยตั้งเป้าหมายไว้
               ในการนี้ ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรจึงได้จัดหลักสูตร “ปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (1/2564)” เพื่อให้บุคลากรเข้าใหม่ของมหาวิทยาลัยได้มีความรู้ ความเข้าใจในวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในองค์กรของตน ซึ่งจะส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรและความสามัคคีในหมู่คณะต่อไป

วัตถุประสงค์
               1. เพื่อให้บุคลากรใหม่ได้พบปะผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยลัยและได้รับรู้ถึงแนวทางในขับเคลื่อนและเป้าหมายของมหาวิทยาลัย
               2. เพื่อให้บุคลากรใหม่ได้รับทราบข้อมูลที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติตนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างถูกต้อง
               3. เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยในการทำงานร่วมกันของบุคลากรใหม่

เนื้อหา / หัวข้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
               1. แนวคิดและทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
               2. การบริหารการเปลี่ยนแปลงด้วย OKRs สู่ World Ranking University
               3. การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
               4. เสริมสร้างสายใยผูกพันรักมั่นองค์กร (WALAILAK for All)
               5. ระบบสนับสนุนการทำงานของมหาวิทยาลัย

วิทยากร
                1. นายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
                2. อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
                3. คณะผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน

วัน เวลาและสถานที่
               วันพุธที่ 7 เมษายน 2564 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม AD 3401 (ห้องประชุมศรีธรรมราช) ชั้น 3 อาคารปฏิบัติการสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ

รายการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ

CP-01                      ☑แบบคำขอรับการกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ
                                              ส่วนที่ 1 ประวัติส่วนตัวและประวัติการปฏิบัติงาน
                                                    (1) ประวัติส่วนตัว
                                                    (2) ประวัติการปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัย
                                                    (3) ประวัติผลงาน ระบุภาระงานปัจจุบัน และภาระงานย้อนหลัง จำนวน 2 ปี
                                              ส่วนที่ 2 ผลงานที่ขอกำหนดระดับตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
                                              ส่วนที่ 3 ความเห็นของผู้บังคับบัญชา
CP-02                      ☑แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงาน เพื่อเสนอขอกำหนดตำแหน่ง
CP-03                      ☑แบบรับรองจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
CP-04                      ☑แบบแสดงหลักฐานการเผยแพร่ผลงาน เพื่อเสนอขอกำหนดตำแหน่ง
CP-05                      ☑เอกสารหมายเลข 2.1 รายการประเมินและระดับคะแนน
CP-06                      ☑เอกสารหมายเลข 2.2 การประเมินการปฏิบัติงานของผู้ขอกำหนดตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับ                                                           เชี่ยวชาญพิเศษ
                                              ส่วนที่ 1 ผลการปฏิบัติงานย้อนหลัง 3 ปี (ปริมาณ คุณภาพ และระยะเวลา)
                                              ส่วนที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ของานตามตัวชี้วัดของตำแหน่งที่ครองอยู่
                                              ส่วนที่ 3 ความเห็นของผู้บังคับบัญชาขั้นต้นและระดับเหนือขึ้นไป
CP-07                      ☑เอกสารหมายเลข 2.3 การประเมินความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของตำแหน่งระดับชำนาญการ                                                       ระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
CP-08                      ☑เอกสารหมายเลข 2.4 แบบประเมินความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง ระดับชำนาญการ ระดับ                                                               เชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
CP-09                      ☑เอกสารหมายเลข 2.5 การประเมินสมรรถนะหลัก (Competency) ของตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ และ                                                           ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ (ระดับสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งงานที่คาดหวังสำหรับตำแหน่ง                                                         ระดับชำนาญการ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ)
CP-10                      ☑เอกสารหมายเลข 2.6 แบบประเมินการประเมินสมรรถนะ (Competency) ของตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ                                                       และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
                                                  (1) สมรรถนะหลัก (Core Competency)
                                                  (2) สมรรถนะเฉพาะตำแหน่ง (Functional Competency)
CP-11                      ☑เอกสารหมายเลข 2.7 การใช้ความรู้ความสามารถในงาน สนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัยฯ
CP-12                      ☑แบบสรุปผลการประเมิน
CP-13                      ☑ประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง สมรรถนะหลัก (Core Competency) ของบุคลากรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
CP-14                      ☑เกณฑ์การประเมินพฤติกรรมบุคคลพนักงานตามดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
CP-15                      ☑คำนิยามคู่มือการปฏิบัติงาน / คู่มือการให้บริการ / คู่มือแนะนำการใช้ห้องปฏิบัติการ และการเผยแพร่
CP-16                      ☑คำนิยามผลงานวิจัย และการเผยแพร่
CP-17                      ☑คำนิยามผลงานเชิงวิเคราะห์ และการเผยแพร่
CP-18                      ☑คำนิยามผลงานเชิงสังเคราะห์ และการเผยแพร่
CP-19                      ☑คำนิยามผลงานนวัตกรรม / สิ่งประดิษฐ์ / งานสร้างสรรค์ และการเผยแพร่
CP-20                      ☑คำนิยามงานแปล และการเผยแพร่
CP-21                      ☑คำนิยามบทความทางวิชาการ และการเผยแพร่
CP-22                      ☑แบบประเมินคู่มือการปฏิบัติงาน / คู่มือการให้บริการ / คู่มือแนะนำการใช้ห้องปฏิบัติกา
CP-23                      ☑แบบประเมินผลงานวิจัย
CP-24                      ☑แบบประเมินผลงานเชิงวิเคราะห์
CP-25                      ☑แบบประเมินผลงานเชิงสังเคราะห์
CP-26                      ☑แบบประเมินผลงานนวัตกรรม / สิ่งประดิษฐ์ / งานสร้างสรรค์
CP-27                      ☑แบบประเมินงานแปล
CP-28                      ☑แบบประเมินบทความทางวิชาการ