นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

          มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรบุคคล จึงกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์  การพัฒนาองค์กรและการบริหารทุนมนุษย์
สู่องค์กรสมรรถนะสูงไว้ในแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ในการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยสมบูรณ์แบบ เพื่อการก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก โดยได้พิจารณาถึงนโยบายการปฏิรูปการจัดการเรียนและการสอน และความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบาย Thailand 4.0 การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และในการนี้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้กำหนดนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อตอบสนองตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่วางไว้ของมหาวิทยาลัย ดังนี้

การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ

       มหาวิทยาลัยโดยมติคณะกรรมการจริยธรรมและพิทักษ์ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 และมติสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2566 ได้แต่งตั้งคณะทำงานและคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการจริยธรรมและพิทักษ์ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 5 คณะ ประกอบไปด้วย

  1. คณะทำงานศึกษาวิเคราะห์การดำเนินการด้านจริยธรรมของบุคลากรและผู้เรียนของมหาวิทยาลัย
  2. คณะทำงานพิจารณากำหนดแนวปฏิบัติในการดำเนินการเรื่องร้องเรียนด้านจริยธรรม
  3. คณะทำงานกลั่นกรองเรื่องร้องเรียน
  4. คณะอนุกรรมการส่งเสริมจริยธรรมแก่บุคลากรและผู้เรียนของมหาวิทยาลัย
  5. คณะอนุกรรมการติดตาม กำกับดูแล และประเมินผลการดำเนินการด้านจริยธรรมของมหาวิทยาลัย

และในการนี้มหาวิทยาลัยโดลสำนักงานสภามหาวิทยาลัยได้จัดประชุมคณะกรรมการติดตาม กำกับดูแล และประเมินผลการดำเนินการด้านจริยธรรมของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2566 ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อการนำผลการประเมินจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลและอื่นๆที่เกี่ยวข้องและกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

คำสั่งสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ 1/2566

กิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น

Upcoming Activities

กิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น

โครงการฝึกอบรม

หลักสูตร “กลยุทธ์การแก้ไขปัญหากรณีการประสานงานร่วมระหว่างหน่วยงาน”

Past Activities

กิจกรรมที่เสร็จสิ้นแล้ว

"Fast & Furious #12"

 เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานสายสนับสนุน ประจำเดือนมิถุนายน

Show & Share Best Practice

การปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ประจำเดือนมิถุนายน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด เทคนิควิธี และแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน

ฐานข้อมูลนักวิชาการ/วิจัย ผู้เชี่ยวชาญ

Scholars/Researchers and experts Database.

ฐานข้อมูลนักวิชาการ/วิจัย ผู้เชี่ยวชาญ

NRIIS

NRIIS

ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ National Research and Innovation Information System

BIODATA

ฐานข้อมูลนักวิชาการประเทศไทย
Thailand Scholars Database

มวล. ทำประกัน COVID-19 ให้พนักงานและขอเชิญชวนพนักงานทำประกัน COVID-19 ให้ครอบครัว

**หมายเหตุ**

ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีอายุไม่เกิน 80 ปี เท่านั้น

For employee who are interested to apply your their family or relatives who are currently live in Thailand. Please transfer the amount THB140 per person to the account number in the green box and fill in the form in the below QR code.

สแกน QR Code เพื่อกรอกแบบฟอร์ม

Scan this QR for the application.

การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

ประจำปี พ.ศ. 2565

This is the heading

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here

การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

             เพื่อให้แผนการบริหารงานบุคคล มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ฝ่ายบริหารและส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการปรับปรุงข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศเกี่ยวกับงานบุคคล เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อเป็นกลไกการสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ขอมหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันการศึกษากลุ่มที่สร้างองค์ความรู้แห่งอนาคต (frontier research) และเป็น “1 ใน 100 มหาวิทยาลัยของโลก ในปี พ.ศ. 2570”  โดยที่การดำเนินงานตามนโยบายการบริหารงานบุคคล ตามที่สภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารงานบุคคล และฝ่ายบริหารมอบหมายให้ดำเนินการ สรุปภาพรวมในด้านต่าง ๆ ดังนี้

การวางแผนทรัพยากรบุคคล

  1. การวางแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล
เนื่องจากยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง จึงกำหนดเป้าประสงค์ให้พัฒนาทุนมนุษย์สู่องค์กรสมรรถนะสูง และด้วยเหตุที่ปัจจุบันเกิดภาวะการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันสูง ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงกำหนดนโยบายและมอบหมายให้ฝ่ายบริหารและส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารงานบุคคลให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย โดยให้ทุกฝ่ายทั้งผู้บริหารและบุคลากรในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมวิเคราะห์กำหนดแผน ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการจัดทำร่างแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีงบประมาณ 2564 – 2567 เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เบื้องต้น ได้นำเสนอร่างแผนกลยุทธ์ฯ ดังกล่าวต่อ คณะกรรมการบริหารและพัฒนาบุคลากร และคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พิจารณาให้ความเห็นชอบเพิ่มเติมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสามารถจัดทำเป็น WU HR Strategic Model ดังนี้

1 ใน 100 มหาวิทยาลัยระดับโลก (Young University)

1. ความเป็นเลิศทางวิชาการ 2. มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรสมรรถนะสูง 3. การเรียนการสอนมีมาตรฐานสากล
4. นักศึกษามีคุณภาพมีความสามารถในการแข่งขัน 5. เมืองมหาวิทยาลัยสีเขียวแห่งความสุข 6. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
7. สินทรัพย์สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม 8. เป็นเสาหลักด้านสุขภาวะในภาคใต้ 9. นักศึกษามีศักยภาพด้านกีฬาและสุขภาพ

ธรรมัตตาภิบาล (Self Good Governance) 

ความเป็นอิสระ หลักนิติธรรม หลักความคุ้มค่า
เสรีภาพทางวิชาการ หลักคุณธรรม หลักการมีส่วนร่วม
ความรับผิดชอบต่อสังคม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ

ภาพที่ 1 ตัวแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

(WU HR Strategic Model)

  1. การวิเคราะห์ภาระงานและอัตรากำลัง
มีการวิเคราะห์ภาระงานและอัตรากำลัง โดยคณะกรรมการตามองค์ประกอบที่มหาวิทยาลัยกำหนด                  ตามระบบ Workforce Planning คำนึงถึงเป้าหมายองค์กรระดับมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน ให้หน่วยงานเสนอหลักการและเหตุผลตามความจำเป็นหรือเสนอทั้ง “แผนงาน แผนเงิน และแผนคน” เพื่อให้ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์การพัฒนา และคณะกรรมการชุดดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสม แล้วกำหนดเป็นแผนกรอบอัตรากำลัง เพื่อสรรหาและคัดเลือกพนักงานสายวิชาการ และสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป  ให้เป็นตามสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งตามแผนการประชุมคณะกรรมการ กำหนดเดือนละ 1 ครั้ง และในรอบปีจัดประชุมตามแผนปกติ รวม 12 ครั้ง  และกำหนดกรอบอัตรากำลังไว้เป็นแผนดำเนินงานด้านบุคลากรที่บรรจุอยู่ในแผนการใช้งบประมาณด้วย
  1. การปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงาน
เพื่อให้โครงสร้างการแบ่งส่วนงานของหน่วยงานภายใต้กำกับของมหาวิทยาลัยมีความสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยจึงมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ปัจจุบันพบว่ามหาวิทยาลัยได้ออกประกาศที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ่งส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยแล้วจำนวนทั้งสิ้น 7 ฉบับ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนงานของสำนักวิชาเป็นสำคัญ สำหรับในส่วนของการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนงานของหน่วยงานสนับสนุนนั้น มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งที่ 208/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานกำหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนงานและกำหนดกรอบตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อทำหน้าที่ทบทวน วิเคราะห์ พัฒนาโครงสร้างการแบ่งส่วนงานเดิมของหน่วยงานสนับสนุน เพื่อเสนอปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อกำหนดกรอบตำแหน่งพนักงานเสนอต่อมหาวิทยาลัยพิจารณาตามกระบวนการต่อไป ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีหน่วยแจ้งความประสงค์ขอปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนงานจำนวนทั้งสิ้น 15 หน่วยงาน ดังนี้  
  1. ศูนย์บริหารทรัพย์สิน
  2. ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน
  3. ศูนย์บริการวิชาการ
  4. ศูนย์กิจการนานาชาติ
  5. ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  6. ศูนย์บริการการศึกษา
  7. สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ
  8. สถาบันวิจัยและนวัตกรรม
  9. ส่วนสื่อสารองค์กร
  10. ส่วนการเงินและบัญชี
  11. ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร
  12. ส่วนอาคารสถานที่
  13. ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม
  14. ส่วนนิติการ
  15. ส่วนอำนวยการและสารบรรณ
  1. การปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ ระเบียบและประกาศ
มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ ระเบียบและประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารงานบุคคล ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 – ปัจจุบัน ภายใต้การบริหารงานชองคณะผู้บริหาชุดปัจจุบัน 245 ฉบับ ดังนี้
ประเภท 2559 (ตั้งแต่ ก.ค.) 2560 2561 2562 2563 2564 2565 (31 มี.ค.)   รวม
ข้อบังคับ 3 1 12 5 5 5 2 33
ระเบียบ 3 5 7 3 7 25
ประกาศ 7 47 42 46 18 55 22 215
รวม 10 51 59 58 26 67 24 273

การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

          มหาวิทยาลัยมีการกำหนดเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร ซึ่งได้ดำเนินการตามระเบียบมหาวิทยาลัยว่าด้วยการสรรหา การเลือกสรร การคัดเลือกและการทดลองปฏิบัติงาน พ.ศ.2535 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการจ้างอาจารย์สัญญาจ้างปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2561 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นศาสตราภิชาน มีการตั้งคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป โดยกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการได้เสนอผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานบุคคลและสภามหาวิทยาลัยให้การเห็นชอบองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกโดยจัดทำเป็นประกาศอย่างชัดเจนและในการดำเนินการสรรหาและคัดเลือกได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเป็นไปตามองค์ประกอบที่กำหนดทุกครั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตามตำแหน่งที่ประกาศรับ พร้อมทั้งมีการประกาศรับสมัครผ่านช่องทางต่าง ๆ และแจ้งผลการดำเนินการตามระเบียบ ประกาศที่กำหนดโดยเปิดเผยทั่วไป ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการสรรหา คัดเลือกและบรรจุบุคลากรเข้าปฏิบัติหน้าที่แล้ว รวมจำนวน 107 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565) ดังนี้ 1) สายบริหารวิชาการ (ตำแหน่งคณบดี ผู้อำนวยการศูนย์/สถาบัน) จำนวน – ตำแหน่ง/ราย 2) สายวิชาการ จำนวน 36 ราย และ 3) สายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป จำนวน 71 ราย  

การบริหารผลการปฏิบัติงาน

        มหาวิทยาลัยใช้กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานประจำปีมีการมอบหมายงานจากระดับนโยบายลงสู่ระดับปฏิบัติการ มอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้บังคับบัญชาติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน ใช้วิธีการประเมินแบบวัตถุวิสัยและการสร้างทีมงาน (Objective and Teamwork Assessment) ซึ่งประเมินทั้งระดับบุคคลและระดับหน่วยงานและนำผลการประเมินไปใช้ประกอบการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบการขึ้นเงินเดือนประจำปี,การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ,การชื่นชมคุณค่าบุคลากรโดยประกาศรายชื่อพนักงานที่ได้รับผลการประเมินระดับดีเยี่่ยมให้ประชาคมวลัยลักษณ์ทราบโดยทั่วกันและมีแนวทางการกระตุ้นส่งเสริมให้พนักงานสายวิชาการตำแหน่งอาจารย์มีขวัญและกำลังใจพัฒนางานทางวิชาการ สนับสนุนการจัดการศึกษา การวิจัยโดยกำหนดเกณฑ์การให้รางวัลอาจารย์ดาวรุ่งและการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษพนักงานที่มีผลงานตามเกณฑ์พรีเมียม

การพัฒนาบุคลากร

  1. การพัฒนาอาจารย์ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพระดับอุดมศึกษาของประเทศอังกฤษ

(The UK Professional Standards Framework, UKPSF)

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ นอกเหนือจากหลักสูตรที่เปิดสอนแล้ว คุณภาพของอาจารย์ผู้สอนเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยได้นำระบบการจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานสากลและเป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป คือมาตรฐานของ The United Kingdom Professional Standards Framework (UKPSF) ประเทศอังกฤษ มาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นคณาจารย์มืออาชีพ The Higher Education Academy (HEA) หรือ Advance HE ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระระดับชาติในสหราชอาณาจักร ได้พัฒนากรอบมาตรฐานวิชาชีพระดับอุดมศึกษา UKPSF เพื่อประเมินและรับรองหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพการสอนของอาจารย์ และได้ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาจัดฝึกอบรมและประเมินคุณภาพการสอนและกำหนดวิทยฐานะของผู้ผ่านการประเมิน (Descriptors) ซึ่งมี 4 ระดับ ได้แก่ Associate Fellow, Fellow, Senior Fellow และระดับสูงสุด Principal Fellow

 

2. ในส่วนของการพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรสายวิชาการนั้น มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและการพัฒนาคุณวุฒิของพนักงานสายวิชาการที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาโทให้มีวุฒิระดับปริญญาเอกจำนวนมากขึ้น โดยการสนับสนุนทุนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และทุนที่ได้รับการจัดสรรจากหน่วยงานภายนอก พร้อมทั้งมีการสนับสนุนพัฒนาศักยภาพโดยการให้ไปฝึกอบรม ดูงานและปฏิบัติการวิจัย เพื่อให้พนักงานสายวิชาการได้มีประสบการณ์ทางการวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และสามารถนำความรู้มาพัฒนาการเรียนการสอนในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรทุนการศึกษา ดังนี้

  1. ทุนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่มีการจัดสรรประจำปีงบประมาณ
    • โครงทุนสนับสนุนบางส่วนเพื่อการศึกษาต่อระดับปริญญาสำหรับคณาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    • โครงการทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับพนักงานสายวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    • โครงการพัฒนาอาจารย์ระดับปริญญาโทเพื่อศึกษาในประเทศและต่างประเทศสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยม
  2. ทุนหน่วยงานภายนอก ซึ่งเป็นทุนที่ได้รับการจัดสรรตามความต้องการของมหาวิทยาลัยในแต่ละปี และการจัดสรรทุนจะเป็นไปตามกระบวนการคัดเลือกของหน่วยงานที่เป็นเจ้าของทุนและแหล่งทุน ดังนี้
    • ทุนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
    • ทุนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • ทุนรัฐบาลต่างประเทศ หรือทุนหน่วยงานภายนอก

ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยมีพนักงานสายวิชาการและนักเรียนทุนอยู่ระหว่างศึกษาต่อ ฝึกอบรมเฉพาะทางทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้

หน่วยงาน

ปริญญาเอก

ปริญญาโท

ฝึกอบรมวุฒิบัตร

ฝึกอบรม

แพทย์ประจำบ้าน

1. สำนักวิชาศิลปศาสตร์

3

2. สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์

4

3. สำนักวิชาการจัดการ

5

4. สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์

3

5. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

2

6. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร

1

  

7. สำนักวิชาสหเวชศาสตร์

7

8. สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์

6

9. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์

3

10. สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

1

11.สำนักวิชาเภสัชศาสตร์

9

3

3

12.สำนักวิชาแพทยศาสตร์

7

13.สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป

2

14. วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัคราชกุมารี

4

1

รวม

50

4

3

7

       

         3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปมีตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ

          มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปได้มีความก้าวหน้าในอาชีพในการเข้าสู่ตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

    1. กิจกรรมให้ความรู้ด้านการเขียนผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ
    2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ
    3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน
    4. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับแก้ไขผลงานตามข้อเสนอแนะของกรรมการประเมินภายใน
    5. คลินิกให้คำปรึกษา
    6. การสนับสนุนงบประมาณสำหรับการนำเสนอผลงานในเวทีประชุมวิชาการ
    7. จัดทำฐานข้อมูลคลังความรู้ผลงาน

             4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานสายวิชาการดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น

       มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนางานทางวิชาการในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ และสามารถขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นการวิจัยอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นที่ยอมรับและ                  มีความสามารถในการแข่งขันทางวิชาการด้านการวิจัยและนวัตกรรมกับสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมการพัฒนางานทางวิชาการของอาจารย์รุ่นใหม่และอาจารย์ที่ยังไม่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รวมถึงสร้างกลไกส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์แต่ละสำนักวิชาได้ผลิตผลงานทางวิชาการเพื่อใช้ประกอบการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการผ่านรูปแบบต่างๆ เช่น การสนับสนุนทุนวิจัยส่วนบุคคลสำหรับคณาจารย์ใหม่ การสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยผ่านสถานวิจัยของแต่ละสำนักวิชา เป็นต้น ทั้งนี้ ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 มหาวิทยาลัยมีคณาจารย์ จำนวน 719 ราย และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 39.86 ของคณาจารย์ทั้งหมด โดยมีรายละเอียดดังนี้

ที่

กลุ่มตำแหน่ง

ศาสตราจารย์

รองศาสตราจารย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อาจารย์

รวม

1

สายบริหารวิชาการ (บริหารเต็มเวลา)

(อธิการบดี/รองอธิการบดี/คณบดี)

5

4

9

2

สายวิชาการ

1

70

212

427

710

 

2.1 ดำรงตำแหน่งบริหารอีกตำแหน่ง

       (รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี)

 

5

5

 

10

 

2.2 วิชาการ

1

65

207

427

700

 

 

 

 

 

 

 

 

รวม 1+2

6

74

212

427

719

 

ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 1+2

292 คน (ร้อยละ 40.61)

 

 

 

ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 2

283 คน (ร้อยละ 39.86)

 

 

การบริหารสารสนเทศบุคคลากร (Human Resource Information System-HRMS)

       มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้ความสำคัญกับการนำระบบสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยเพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization : HPO) ได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด จึงมีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบซึ่งจะทำให้การดำเนินงานด้านต่าง ๆ เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว เป็นเชิงรุก และประหยัดทรัพยากร โดยมอบหมายให้ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรได้พัฒนาระบบสารสนเทศงานบุคคล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (WU-HRMS : Walailak University Human Resources Management  Information System) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางของมหาวิทยาลัยและให้มีระบบปฏิบัติการงานบุคคลตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยให้พนักงานส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรปฏิบัติงานบนระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital platform) อันจะส่งผลให้คุณภาพงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการ เพราะระบบงานสามารถเชื่อมโยงข้อมูลหรือออกรายงานข้อมูลไปใช้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตามความจำเป็นเพื่อบริการข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แอพพลิเคชั่นงานบุคคลได้                    ทุกสถานที่ ทุกเวลา สำหรับขอบเขตระบบงานสารสนเทศงานบุคคลนั้น ประกอบไปด้วย 16 ระบบงานย่อย (โมดูล) ได้แก่ ระบบบริหารจัดการโครงสร้างองค์กร ระบบอัตรากำลัง ระบบสรรหาและคัดเลือก ระบบบรรจุและแต่งตั้ง ระบบทะเบียนประวัติ ระบบเงินเดือนและค่าตอบแทน ระบบสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูล ระบบพัฒนาบุคลากร ระบบประเมิน ระบบความก้าวหน้าในอาชีพ ระบบบันทึกเวลาปฏิบัติงานและการลา ระบบการขึ้นเงินเดือน ระบบวินัย ระบบบริหารข้อมูลบริการตนเอง ระบบบริการข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ และแอบพลิเคชั่นงานบุคคล ซึ่งปัจจุบันเปิดใช้งานในในเฟสแรกสำหรับผู้ดูแลระบบแล้วจำนวน 4 ระบบ คือ ระบบบริหารจัดการโครงสร้างองค์กร ระบบทะเบียนประวัติ ระบบอัตรากำลัง ระบบบรรจุและแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565

 

ขอเชิญสมัครทำประกันอุบัติเหตุให้กับครอบครัวและพนักงานหรือลูกจ้างที่ใช้สิทธิเบิกสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนประกันสังคม

        เปิดโอกาสให้ครอบครัวพนักงาน รวมทั้งพนักงานและลูกจ้างที่ใช้สิทธิเบิกสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนประกันสังคมทุกท่าน สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการประกันอุบัติเหตุได้ตามความสมัครใจ ทั้งนี้พนักงานเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยเอง โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารออมสิน สาขาท่าศาลา ชื่อบัญชีส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร เลขที่บัญชี 0202 9732 4665 เพื่อชำระเบี้ยประกันพร้อมแนบหลักฐานการโอนเงิน