ผู้บริหาร มวล. เข้าร่วมโครงการ นบส.มวล. และลงนาม MOU กับ ม. แม่ฟ้าหลวง

คณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ในโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพนักบริหารการศึกษาระดับสูง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” (นบส.มวล.) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยได้รับการต้อนรับจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัชฌิมา นราดิศร อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ คณะผู้บริหารของม.แม่ฟ้าหลวงร่วมต้อนรับอย่างอบอุ่น

โอกาสนี้ คณะผู้บริหารจากทั้งสองมหาวิทยาลัยได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน และความสำเร็จในด้านต่างๆ ของแต่ละมหาวิทยาลัย รวมไปถึงหารือแนวทางความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต

ลงนาม MOU ร่วมมือวิจัย การศึกษา และบริการวิชาการ

ภายหลังการศึกษาดูงาน คณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการวิจัย การศึกษา เเละการบริการทางวิชาการของทั้ง2 สถาบัน โดยมีข้อตกลงความร่วมมือในเรื่องต่างๆประกอบด้วย การร่วมมือในโครงการวิจัยเเละพัฒนาภายใต้หัวข้อหรือเรื่องที่ได้เห็นชอบ ซึ่งทัังสองฝ่ายจะตกลงกันในรายละเอียดของเเต่ละโครงการ ตลอดจนการสนับสนุนด้านการแลกเปลี่ยนอาจารย์ และนักศึกษา การประชุมสัมมนาวิชาการ และการจัดบริการทางวิชาการให้กับนักศึกษา องค์กร เอกชน ชุมชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจ เพื่อเสริมสร้าง ความรู้ และความเข้าใจในศาสตร์ต่างๆ ภายใต้กรอบระยะเวลา 5 ปี

การลงนาม MOU ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองมหาวิทยาลัย ในการร่วมกันพัฒนาองค์กร ส่งเสริมงานวิชาการ และสร้างประโยชน์ต่อสังคม

ปฏิทินการประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ประจำปี พ.ศ. 2567

  • การส่งระเบียบวาระประชุม
    • เจ้าของเรื่องส่งให้ฝ่ายเลขานุการ                ภายในวันที่   31  มกราคม  2567
    • ฝ่ายเลขานุการส่งระเบียบวาระให้คณะกรรมการ   วันที่  16 กุมภาพันธ์ 2567

 

  • การส่งระเบียบวาระประชุม
    • เจ้าของเรื่องส่งให้ฝ่ายเลขานุการ                 ภายในวันที่   2 เมษายน 2567
    • ฝ่ายเลขานุการส่งระเบียบวาระให้คณะกรรมการ   วันที่  12 เมษายน 2567
  • การส่งระเบียบวาระประชุม
    • เจ้าของเรื่องส่งให้ฝ่ายเลขานุการ                ภายในวันที่   5 มิถุนายน 2567
    • ฝ่ายเลขานุการส่งระเบียบวาระให้คณะกรรมการ   วันที่  14 มิถุนายน 2567
  • การส่งระเบียบวาระประชุม
    • เจ้าของเรื่องส่งให้ฝ่ายเลขานุการ                ภายในวันที่  31 กรกฎาคม 2567
    • ฝ่ายเลขานุการส่งระเบียบวาระให้คณะกรรมการ   วันที่  9 สิงหาคม 2567
  • การส่งระเบียบวาระประชุม
    • เจ้าของเรื่องส่งให้ฝ่ายเลขานุการ                ภายในวันที่   2 ตุลาคม 2567
    • ฝ่ายเลขานุการส่งระเบียบวาระให้คณะกรรมการ   วันที่  11 ตุลาคม 2567
  • การส่งระเบียบวาระประชุม
    • เจ้าของเรื่องส่งให้ฝ่ายเลขานุการ                ภายในวันที่   2 ธันวาคม 2567
    • ฝ่ายเลขานุการส่งระเบียบวาระให้คณะกรรมการ   วันที่  13 ธันวาคม 2567

หมายเหตุ

  • สถานที่ประชุม ห้องประชุมราชพฤกษ์ ชั้น 4 อาคารอำนวยการ ศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช และผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม ZOOM Cloud Meetings
  • กำหนดวันและช่วงเวลาการประชุมที่แน่นอนไว้คือทุกวันศุกร์ สัปดาห์ที่สามของเดือนคู่ ยกเว้นกรณีที่ตรงกับวันหยุดจะเลื่อนการประชุมเร็วขึ้นหรือนัดในสัปดาห์ถัดไป

HRO ต้อนรับปีใหม่ 2024 ด้วยพิธีเช้ามงคลและปาร์ตี้สุดมันส์ในตอนบ่ายที่มีธีม “อาชีพ”

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 ทีมงานส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร (HRO) ได้เตรียมพร้อมเริ่มต้นปีใหม่ 2024 อย่างไม่ซ้ำซาก ด้วยการรวมพลังความดี ทำบุญ พร้อมกับการเตรียมเฉลิมฉลองสุดสนุกในบ่ายที่มีธีมสวยงาม “อาชีพ.”

พิธีทำบุญเช้า:

ทีมงาน HRO ได้ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ด้วยการเสริมสร้างสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจของทีมงานด้วยพิธีทำบุญและเลี้ยงภัตตาหารเพลให้แก่พระสงฆ์ 5 รูป จากวัดคลองดิน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีสมาชิกส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรและหน่วยงานอื่นๆเข้าร่วมรับพรต้องรับปีใหม่ด้วย

ปาร์ตี้สุดมันส์ในบ่ายที่มีธีม “อาชีพ”:

 ภายในบ่ายวันเดียวกันนั้น ทีมงานได้แต่งกายตามธีม “อาชีพ” ที่น่าสนใจ พนักงานทุกคนได้สร้างสรรค์การแต่งตัวเป็นตัวละครต่าง ๆ เช่น นักดนตรี ทหาร ตำรวจ พนักงานส่งของ ไปจนถึงคนขายลอตเตอรี่และขอทาน และยังมีอาชีพที่น่าสนใจอื่นๆที่สมาชิกได้สร้างสรรค์และนำเสนออีกมากมาย ทำให้สถานที่ทำงานเต็มไปด้วยความคึกคักและความสนุก

ปาร์ตี้ที่มีธีม “อาชีพ” ได้รวมพลังงานที่มีชีวิตชีวาและกิจกรรมที่น่าสนใจ ซึ่งทำให้ทีมงาน HRO ได้สนุกสนานและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ผ่อนคลายและทำความรู้จักกันมากขึ้น โดยได้มีการประกวดการแต่งกาย ซึ่งนางสาวนิตติยา ทองเสนอ หรือ น้องทราย ผู้มาพร้อมกับอาชีพ คนขายลอตเตอรี่ คว้ารางวัลชนะเลิศไปครอง

การเฉลิมฉลองปีใหม่ของทีมงาน HRO ไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของทีม แต่ยังเป็นการแสดงถึงความตั้งใจในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เชิงบวกและสนุกสนาน ซึ่งทำให้ทีมงาน HRO เดินทางเข้าสู่ปี 2024 ด้วยความมุ่งมั่นและความสมหวังที่ปรับพลังพร้อมที่จะรับมือกับท้าทายใหม่ ๆ และสร้างเรื่องราวความสำเร็จมากมายในปีถัดไป

ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร จัดประชุมชี้แจงการจัดทำข้อตกลงภาระงานส่วนบุคคล (กลุ่มศูนย์ สถาบัน ส่วน หน่วย สำนักงาน หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น)

ประชุมชี้แจงการจัดทำภาระงานส่วนบุคคล 30/11/2023

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 12.30 – 13.30 น. ณ ห้อง 7301 อาคารเรียนรวม 7 ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรได้จัดประชุมชี้แจงการจัดทำข้อตกลงภาระงานส่วนบุคคล ของหน่วยงานกลุ่มศูนย์ สถาบัน ส่วน หน่วย สำนักงาน หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อให้ข้อตกลงภาระงานส่วนบุคคลเป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดย ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. วาริท เจาะจิตต์ รองอธิการบดีที่กำกับดูแลงานบุคคล และ ดร. เปรมฤดี นุ่นสังข์ รักษาการแทนหัวหน้าส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร อีกทั้งหัวหน้างานและเจ้าหน้าที่งานประเมินผลการปฏิบัติงาน  ซึ่ง รองฯ วาริท ได้บรรยายในหัวข้อ “การจัดทำข้อตกลงภาระงานส่วนบุคคล แบบ Objective-based” โดยชี้แจงสัดส่วนภาระงานส่วนบุคคลตามกลุ่มตำแหน่ง ได้แก่ กลุ่มตำแหน่งต่ำกว่าปริญญาตรี ตำแหน่งปริญญาตรีขึ้นไป กลุ่มดำรงตำแหน่งวิทยฐานะ กลุ่มพนักงานปฏิบัติงานภาคสนาม และกลุ่มตำแหน่งบริหารจัดการชั้นต้น โดยพนักงานสามารถเลือก Track ภาระงานได้ 2 Track ซึ่งได้แก่ Track ปกติ และ Track พัฒนาผลงานวิชาชีพ ซึ่งเป็น Track ที่พนักงานจะต้องทำผลงานและยื่นขอตำแหน่งวิทยฐานะ

บรรยากาศของการชี้แจงเป็นไปโดยราบรื่นและได้รับความสนใจจากผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ มีการซักถามข้อสงสัย เพื่อความกระจ่างชัดเจนของข้อมูลเพื่อที่จะได้นำไปปฏิบัติต่ออย่างถูกต้อง

ทั้งนี้ เอกสารประกอบการบรรยายสามารถดาวน์โหลดได้จาก Link นี้ https://hro.wu.ac.th/documents/

ทมอ. หารือนัดพิเศษทำคำรับรองการปฏิบัติงาน ปีงบประมาณ 2567

ทมอ. หารือนัดพิเศษทำคำรับรองการปฏิบัติงาน ปีงบประมาณ 2567

เมื่อวันอังคาร ที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ได้จัดประชุมนัดพิเศษเพื่อจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2567 นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร. วาริท เจาะจิตต์ รองอธิการบดีที่กำกับดูแลส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ดร. เปรมฤดี นุ่นสังข์ รักษาการแทนหัวหน้าส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร และบุคลากรในส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรทุกท่าน ในปีงบประมาณ 2567 นี้ คำรับรองของส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรมีความเข้มข้อและชัดเจนในการวัดผลมากขึ้น ด้วยกำหนดเกณฑ์ที่เป็รรูปธรรมมาใช้ในการตัดสินคะแนน อีกทั้งยังจำกัดหัวข้อของคำรับรองให้มีไม่เกิน 25 หัวข้อเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของพี่น้อง ทมอ. ทุกท่าน โดยคำรับรองของส่วนฯนั้น ผ่านการกลั่นกรองจากที่ประชุมผู้บริหารภายในหน่วยงานมาแล้ว 1 ครั้ง ซึ่งใน Part ระดมความคิด มีการแบ่งออกเป็นส่วนงานเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าจะเป็นและความเป็นไปได้ของคำรับรองการปฏิบัติงานและลงความเห็นของสมาชิกในกลุ่มงานนั้นๆว่าเห็นชอบในหัวข้อคำรับรองนี้หรือไม่ ซึ่งการหารือนี้ สำเร็จลุล่วงเสร็จสิ้นไปได้ด้วยดี

HR จัดการประชุมการปรับปรุงการประเมินการปฏิบัติงาน ของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป กลุ่มศูนย์ สถาบัน ส่วน หน่วยงานเทียบเท่า

ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรได้จัดการประชุมการปรับปรุงการประเมินการปฏิบัติงาน ของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป กลุ่มศูนย์ สถาบัน ส่วน หน่วยงานเทียบเท่า สำหรับปีงบประมาณ 2567 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมช่อประดู่ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีรองอธิการบดี (รศ.ดร.วาริ เจาะจิตต์) ให้เกียรติเป็นผู้บรรยาย และมีผู้บริหารระดับศูนย์ สถาบัน ส่วน หรือหน่วยงานที่เทียบเท่า เข้าร่วมการประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป กลุ่มศูนย์ สถาบัน ส่วน หรือหน่วยงานที่เทียบเท่า ประจำปีงบประมาณ 2566 และเพื่อแจ้งให้ทราบถึงนโยบายการประเมินการปฏิบัติงานจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย รวมถึงร่วมกันระดมความเห็นจากผู้บริหารผู้บริหารระดับศูนย์ สถาบัน ส่วน หรือหน่วยงานที่เทียบเท่าเพื่อปรับปรุงการประเมินการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป เพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัยต่อไป

ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรได้จัดการประชุมการปรับปรุงการประเมินการปฏิบัติงาน ของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป กลุ่มศูนย์ สถาบัน ส่วน หน่วยงานเทียบเท่า สำหรับปีงบประมาณ 2567 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมช่อประดู่ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีรองอธิการบดี (รศ.ดร.วาริ เจาะจิตต์) ให้เกียรติเป็นผู้บรรยาย และมีผู้บริหารระดับศูนย์ สถาบัน ส่วน  หรือหน่วยงานที่เทียบเท่า เข้าร่วมการประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป กลุ่มศูนย์ สถาบัน ส่วน  หรือหน่วยงานที่เทียบเท่า ประจำปีงบประมาณ 2566 และเพื่อแจ้งให้ทราบถึงนโยบายการประเมินการปฏิบัติงานจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย รวมถึงร่วมกันระดมความเห็นจากผู้บริหารผู้บริหารระดับศูนย์ สถาบัน ส่วน  หรือหน่วยงานที่เทียบเท่าเพื่อปรับปรุงการประเมินการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป เพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัยต่อไป

ม.วลัยลักษณ์ขยับ 200 อันดับ ทะยานขึ้นมาอยู่อันดับที่ 401-600 ของโลก อันดับที่ 10 ร่วมของไทย THE Impact Rankings 2023

THE World Inpact Ranking WU

 

 

 

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 401-600 ของโลก จากการจัดอันดับผลงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) โดยTimes Higher Education Impact Rankings ปี 2023  ขยับดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา 200 อันดับ และเป็นอันดับที่ 10 ร่วมของประเทศไทย โดยผลงานด้าน SDG2 ,SDG6 ,SDG11 และSDG14 สามารถทำคะแนนติดอันดับ Top 100 ของโลกเป็นครั้งแรก

วันที่ 1 มิถุนายน 2566 Times Higher Education (THE) ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) หรือ THE Impact Rankings ประจำปี 2023 โดยมีจำนวนมหาวิทยาลัย 1,591 แห่งใน 112 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 401-600 ของโลก ขยับดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา 200 อันดับ และเป็นอันดับที่ 10 ร่วมของประเทศไทย

โดยผลงาน SDGs 4 ด้านที่สามารถทำคะแนนติดในอันดับ top 100 ของโลกเป็นครั้งแรก ประกอบด้วย ผลงานด้าน SDG2, SDG6, SDG11 และSDG14 ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 56 , 52 , 99 และ 58 ของโลกตามลำดับ  นอกจากนี้ยังมีผลงานด้าน SDG3, SDG4, SDG17 ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 101-200 และ SDG12 อยู่ในอันดับ 201-300 ของโลก   ทั้งนี้หากดูผลการจัดอันดับเฉพาะในประเทศไทย พบว่า ผลงานด้าน SDG6 และ SDG14  สามารถทำคะแนนขยับขึ้นไปอยู่ในอันดับ 3 ของประเทศ SDG3 และ SDG11 เป็นอันดับ 4 ของประเทศ และ SDG 2 เป็นอันดับ 5 ของประเทศอีกด้วย

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) ตามกรอบขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งในปี 2022  มวล.ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 601-800 ของโลก จึงได้นำจุดอ่อนที่เคยเกิดขึ้นนำมาปรับปรุงแก้ไข ปีนี้ผลที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจแสดงให้เห็นในเชิงประจักษ์ว่ามหาวิทยาลัยมีผลงานที่โดดเด่น และเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้มาจากการมุ่งมั่นทุ่มเททำงานกันอย่างเข้มข้นของพวกเราทุกคน ขอขอบคุณคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาที่ร่วมกันขับเคลื่อน และเชื่อว่าในอนาคตมหาวิทยาลัยจะได้รับการจัดอันดับโลกที่สูงขึ้น

ในปี 2023 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีการส่ง 8 เป้าหมายSDGs ให้ THE Impact Rankings พิจารณา ประกอบด้วย SDG2 : Zero Hunger (ขจัดความหิวโหย) , SDG3 : Good Health and Well-being (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) , SDG4 : Quality Education (คุณภาพการศึกษา) , SDG6 : Clean Water and Sanitation (การจัดการน้ำและสุขาภิบาล) , SDG11 : Sustainable cities and Communities (เมืองและการสังคมมนุษย์ที่มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน) SDG12 : Responsible Consumption and Production (การสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน), SDG14 : Life Below Water (ทรัพยากรทางทะเล) และ SDG17 : Partnerships for the Goals (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ยังได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก World University Rankings 2023  อยู่ในอันดับที่ 1501+ ของโลก อันดับที่ 11 ของไทย ได้รับการจัดอันดับจาก QS Asia University Rankings อันดับที่ 551-600 ของเอเชียด้วย

WU Innovation Days 2023: ภาพรวมอนาคตของเทคโนโลยี การทำงานร่วมกัน และนวัตกรรม

WU Innovation Days

WU Innovation Days 2023  ซึ่งจัดโดยส่วนทรัพยากรบุคคลและองค์กร ได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 7-8 กันยายน 2566 ด้วยความตื่นเต้นและความคาดหวังอย่างล้นหลาม ซึ่งงานในปีนี้เป็นปีแรกเพื่อส่งเสริมในด้านค้นพบเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำในการทำงานและส่งเสริมนวัตกรรมการทำงานร่วมกัน โดยดึงดูดนักสร้างสรรค์ ผู้นำทางความคิด และผู้เชี่ยวชาญองค์กรจากหน่วยงานสนับสนุน 

WU Innovation Day 2023 เป็นเวทีที่หน่วยงานต่างๆ สามารถนำเสนอนวัตกรรมและแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงการทำงานของตนได้ อีกทั้งยังเป็นเวทีสำหรับการปรากฏตัวและแจ้งเกิดของนักนำเสนอจากหลายหน่วยงาน

ผลลัพธ์จากการนำเสนอนี้จะนับเป็นคะแนนของหน่วยงานสนับสนุน คณะกรรมการให้คะแนนมาจากภาคส่วนต่างๆ บรรยากาศงานเป็นไปอย่างสนุกสนานและสร้างสรรค์ และผู้ชมรู้สึกตื่นเต้นกับนวัตกรรมที่นำเสนอ

ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรสนับสนุนการรับการตรวจ 5s Model Award 2023

5s Model WU

                เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30 – 15.00 น. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีการต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมินจากสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น ในการประกวด 5s model award ประจำปี 2566 โดยมี รักษาการแทนรองอธิการบดี รศ.ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ เป็นประธานและมีคณะกรรมการ 5 ส ของส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรเข้าร่วมเป็นเลขานุการ โดยกิจกรรมนี้มีหน่วยงานจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าร่วมประกวด 3 หน่วยงานได้แก่ ศูนย์บริหารทรัพย์สิน, ส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโลยีโดยคณะกรรมการได้เข้าตรวจให้คะแนนและให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการใช้กิจกรรม 5ส มาเพื่อประยุคต์ใช้ปรับปรุงคุณภาพพื้นที่และการบริการแก่นักศึกษารวมถึงบุคคลภายนอกที่มาใช้บริการด้วย เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นและลดการสูญเสียที่ไม่จำเป็นของแต่ละหน่วยงาน หลังจากเสร็จสิ้นการตรวจและให้คะแนน คณะกรรมการตรวจประเมินได้มีการอภิปรายสรุปเพื่อและให้คำติชมเพิ่มเติมแก่ทั้ง 3 หน่วยงานเพื่อเป็นการปิดกิจกรรมการประกวด 5s model award ประจำปี 2023 ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ร่วมรับฟังนโยบายแนวปฏิบัติกรณีถูกพาดพิงผ่านสื่อสังคมออนไลน์

ประชุมรับฟังนโยบายเรื่องสื่อโซเชี่ยลมีเดีย

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 เวลา 10:00 น. ตัวแทนจากส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรเข้าร่วมรับฟังนโยบายจากอธิการบดีในเวทีชี้แจง เกี่ยวกับเรื่อง แนวปฏิบัติกรณีถูกพาดพิงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยที่ผ่านมามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ถูกโจมตีจากข่าวปลอม (Fake News) ในสื่อสังคมออนไลน์ในช่องทางต่างๆ ซึ่งในบางสื่อไม่ได้มีการแก้ไข ทำความเข้าใจ และสื่อสารให้ถูกต้อง ส่วนสื่อสารองค์กรจึงจัดเวทีชี้แจงนโยบายจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ศ.ดร. สมบัติ ธำรังธัญวงศ์) ในการจัดการกับข้อมูลที่ผิดพลาดในสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าว โดยมีหัวหน้าหน่วยงานและผู้ดูแลเว็บไซต์หน่วยงานเข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน