
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เพื่อให้แผนการบริหารงานบุคคล มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ฝ่ายบริหารและส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการปรับปรุงข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศเกี่ยวกับงานบุคคล เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อเป็นกลไกการสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ขอมหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันการศึกษากลุ่มที่สร้างองค์ความรู้แห่งอนาคต (frontier research) และเป็น “1 ใน 100 มหาวิทยาลัยของโลก ในปี พ.ศ. 2570” โดยที่การดำเนินงานตามนโยบายการบริหารงานบุคคล ตามที่สภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารงานบุคคล และฝ่ายบริหารมอบหมายให้ดำเนินการ สรุปภาพรวมในด้านต่าง ๆ ดังนี้
การวางแผนทรัพยากรบุคคล
- การวางแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล
1 ใน 100 มหาวิทยาลัยระดับโลก (Young University)
1. ความเป็นเลิศทางวิชาการ | 2. มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรสมรรถนะสูง | 3. การเรียนการสอนมีมาตรฐานสากล |
4. นักศึกษามีคุณภาพมีความสามารถในการแข่งขัน | 5. เมืองมหาวิทยาลัยสีเขียวแห่งความสุข | 6. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน |
7. สินทรัพย์สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม | 8. เป็นเสาหลักด้านสุขภาวะในภาคใต้ | 9. นักศึกษามีศักยภาพด้านกีฬาและสุขภาพ |

ธรรมัตตาภิบาล (Self Good Governance) |
||
ความเป็นอิสระ | หลักนิติธรรม | หลักความคุ้มค่า |
เสรีภาพทางวิชาการ | หลักคุณธรรม | หลักการมีส่วนร่วม |
ความรับผิดชอบต่อสังคม | หลักความโปร่งใส | หลักความรับผิดชอบ |
ภาพที่ 1 ตัวแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
(WU HR Strategic Model)
- การวิเคราะห์ภาระงานและอัตรากำลัง
- การปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงาน
- ศูนย์บริหารทรัพย์สิน
- ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน
- ศูนย์บริการวิชาการ
- ศูนย์กิจการนานาชาติ
- ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ศูนย์บริการการศึกษา
- สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ
- สถาบันวิจัยและนวัตกรรม
- ส่วนสื่อสารองค์กร
- ส่วนการเงินและบัญชี
- ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร
- ส่วนอาคารสถานที่
- ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม
- ส่วนนิติการ
- ส่วนอำนวยการและสารบรรณ
- การปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ ระเบียบและประกาศ
ประเภท | 2559 (ตั้งแต่ ก.ค.) | 2560 | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 (31 มี.ค.) | รวม |
ข้อบังคับ | 3 | 1 | 12 | 5 | 5 | 5 | 2 | 33 |
ระเบียบ | – | 3 | 5 | 7 | 3 | 7 | – | 25 |
ประกาศ | 7 | 47 | 42 | 46 | 18 | 55 | 22 | 215 |
รวม | 10 | 51 | 59 | 58 | 26 | 67 | 24 | 273 |
การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
มหาวิทยาลัยมีการกำหนดเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร ซึ่งได้ดำเนินการตามระเบียบมหาวิทยาลัยว่าด้วยการสรรหา การเลือกสรร การคัดเลือกและการทดลองปฏิบัติงาน พ.ศ.2535 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการจ้างอาจารย์สัญญาจ้างปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2561 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นศาสตราภิชาน มีการตั้งคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป โดยกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการได้เสนอผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานบุคคลและสภามหาวิทยาลัยให้การเห็นชอบองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกโดยจัดทำเป็นประกาศอย่างชัดเจนและในการดำเนินการสรรหาและคัดเลือกได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเป็นไปตามองค์ประกอบที่กำหนดทุกครั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตามตำแหน่งที่ประกาศรับ พร้อมทั้งมีการประกาศรับสมัครผ่านช่องทางต่าง ๆ และแจ้งผลการดำเนินการตามระเบียบ ประกาศที่กำหนดโดยเปิดเผยทั่วไป ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการสรรหา คัดเลือกและบรรจุบุคลากรเข้าปฏิบัติหน้าที่แล้ว รวมจำนวน 107 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565) ดังนี้ 1) สายบริหารวิชาการ (ตำแหน่งคณบดี ผู้อำนวยการศูนย์/สถาบัน) จำนวน – ตำแหน่ง/ราย 2) สายวิชาการ จำนวน 36 ราย และ 3) สายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป จำนวน 71 ราย
การบริหารผลการปฏิบัติงาน
มหาวิทยาลัยใช้กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานประจำปีมีการมอบหมายงานจากระดับนโยบายลงสู่ระดับปฏิบัติการ มอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้บังคับบัญชาติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน ใช้วิธีการประเมินแบบวัตถุวิสัยและการสร้างทีมงาน (Objective and Teamwork Assessment) ซึ่งประเมินทั้งระดับบุคคลและระดับหน่วยงานและนำผลการประเมินไปใช้ประกอบการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบการขึ้นเงินเดือนประจำปี,การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ,การชื่นชมคุณค่าบุคลากรโดยประกาศรายชื่อพนักงานที่ได้รับผลการประเมินระดับดีเยี่่ยมให้ประชาคมวลัยลักษณ์ทราบโดยทั่วกันและมีแนวทางการกระตุ้นส่งเสริมให้พนักงานสายวิชาการตำแหน่งอาจารย์มีขวัญและกำลังใจพัฒนางานทางวิชาการ สนับสนุนการจัดการศึกษา การวิจัยโดยกำหนดเกณฑ์การให้รางวัลอาจารย์ดาวรุ่งและการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษพนักงานที่มีผลงานตามเกณฑ์พรีเมียม
การพัฒนาบุคลากร
- การพัฒนาอาจารย์ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพระดับอุดมศึกษาของประเทศอังกฤษ
(The UK Professional Standards Framework, UKPSF)
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ นอกเหนือจากหลักสูตรที่เปิดสอนแล้ว คุณภาพของอาจารย์ผู้สอนเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยได้นำระบบการจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานสากลและเป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป คือมาตรฐานของ The United Kingdom Professional Standards Framework (UKPSF) ประเทศอังกฤษ มาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นคณาจารย์มืออาชีพ The Higher Education Academy (HEA) หรือ Advance HE ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระระดับชาติในสหราชอาณาจักร ได้พัฒนากรอบมาตรฐานวิชาชีพระดับอุดมศึกษา UKPSF เพื่อประเมินและรับรองหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพการสอนของอาจารย์ และได้ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาจัดฝึกอบรมและประเมินคุณภาพการสอนและกำหนดวิทยฐานะของผู้ผ่านการประเมิน (Descriptors) ซึ่งมี 4 ระดับ ได้แก่ Associate Fellow, Fellow, Senior Fellow และระดับสูงสุด Principal Fellow

2. ในส่วนของการพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรสายวิชาการนั้น มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและการพัฒนาคุณวุฒิของพนักงานสายวิชาการที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาโทให้มีวุฒิระดับปริญญาเอกจำนวนมากขึ้น โดยการสนับสนุนทุนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และทุนที่ได้รับการจัดสรรจากหน่วยงานภายนอก พร้อมทั้งมีการสนับสนุนพัฒนาศักยภาพโดยการให้ไปฝึกอบรม ดูงานและปฏิบัติการวิจัย เพื่อให้พนักงานสายวิชาการได้มีประสบการณ์ทางการวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และสามารถนำความรู้มาพัฒนาการเรียนการสอนในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรทุนการศึกษา ดังนี้
- ทุนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่มีการจัดสรรประจำปีงบประมาณ
- โครงทุนสนับสนุนบางส่วนเพื่อการศึกษาต่อระดับปริญญาสำหรับคณาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- โครงการทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับพนักงานสายวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- โครงการพัฒนาอาจารย์ระดับปริญญาโทเพื่อศึกษาในประเทศและต่างประเทศสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยม
- ทุนหน่วยงานภายนอก ซึ่งเป็นทุนที่ได้รับการจัดสรรตามความต้องการของมหาวิทยาลัยในแต่ละปี และการจัดสรรทุนจะเป็นไปตามกระบวนการคัดเลือกของหน่วยงานที่เป็นเจ้าของทุนและแหล่งทุน ดังนี้
- ทุนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
- ทุนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
- ทุนรัฐบาลต่างประเทศ หรือทุนหน่วยงานภายนอก
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยมีพนักงานสายวิชาการและนักเรียนทุนอยู่ระหว่างศึกษาต่อ ฝึกอบรมเฉพาะทางทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้
หน่วยงาน | ปริญญาเอก | ปริญญาโท | ฝึกอบรมวุฒิบัตร | ฝึกอบรม แพทย์ประจำบ้าน |
1. สำนักวิชาศิลปศาสตร์ | 3 | – | – | – |
2. สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | 4 | – | – | – |
3. สำนักวิชาการจัดการ | 5 | – | – | – |
4. สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ | 3 | – | – | – |
5. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ | 2 | – | – | – |
6. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร | 1 | – | ||
7. สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ | 7 | – | – | – |
8. สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ | 6 | – | – | – |
9. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ | 3 | – | – | – |
10. สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ | 1 | – | – | – |
11.สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ | 9 | 3 | 3 | – |
12.สำนักวิชาแพทยศาสตร์ | – | – | – | 7 |
13.สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป | 2 | – | – | – |
14. วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัคราชกุมารี | 4 | 1 | – | – |
รวม | 50 | 4 | 3 | 7 |
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปมีตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ
มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปได้มีความก้าวหน้าในอาชีพในการเข้าสู่ตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- กิจกรรมให้ความรู้ด้านการเขียนผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับแก้ไขผลงานตามข้อเสนอแนะของกรรมการประเมินภายใน
- คลินิกให้คำปรึกษา
- การสนับสนุนงบประมาณสำหรับการนำเสนอผลงานในเวทีประชุมวิชาการ
- จัดทำฐานข้อมูลคลังความรู้ผลงาน

4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานสายวิชาการดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนางานทางวิชาการในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ และสามารถขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นการวิจัยอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นที่ยอมรับและ มีความสามารถในการแข่งขันทางวิชาการด้านการวิจัยและนวัตกรรมกับสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมการพัฒนางานทางวิชาการของอาจารย์รุ่นใหม่และอาจารย์ที่ยังไม่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รวมถึงสร้างกลไกส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์แต่ละสำนักวิชาได้ผลิตผลงานทางวิชาการเพื่อใช้ประกอบการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการผ่านรูปแบบต่างๆ เช่น การสนับสนุนทุนวิจัยส่วนบุคคลสำหรับคณาจารย์ใหม่ การสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยผ่านสถานวิจัยของแต่ละสำนักวิชา เป็นต้น ทั้งนี้ ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 มหาวิทยาลัยมีคณาจารย์ จำนวน 719 ราย และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 39.86 ของคณาจารย์ทั้งหมด โดยมีรายละเอียดดังนี้
ที่ | กลุ่มตำแหน่ง | ศาสตราจารย์ | รองศาสตราจารย์ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | อาจารย์ | รวม |
1 | สายบริหารวิชาการ (บริหารเต็มเวลา) (อธิการบดี/รองอธิการบดี/คณบดี) | 5 | 4 | – | – | 9 |
2 | สายวิชาการ | 1 | 70 | 212 | 427 | 710 |
| 2.1 ดำรงตำแหน่งบริหารอีกตำแหน่ง (รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี) |
| 5 | 5 |
| 10 |
| 2.2 วิชาการ | 1 | 65 | 207 | 427 | 700 |
|
|
|
|
|
|
|
| รวม 1+2 | 6 | 74 | 212 | 427 | 719 |
| ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 1+2 | 292 คน (ร้อยละ 40.61) |
|
| ||
| ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 2 | 283 คน (ร้อยละ 39.86) |
|
|

การบริหารสารสนเทศบุคคลากร (Human Resource Information System-HRMS)
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้ความสำคัญกับการนำระบบสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยเพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization : HPO) ได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด จึงมีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบซึ่งจะทำให้การดำเนินงานด้านต่าง ๆ เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว เป็นเชิงรุก และประหยัดทรัพยากร โดยมอบหมายให้ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรได้พัฒนาระบบสารสนเทศงานบุคคล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (WU-HRMS : Walailak University Human Resources Management Information System) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางของมหาวิทยาลัยและให้มีระบบปฏิบัติการงานบุคคลตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยให้พนักงานส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรปฏิบัติงานบนระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital platform) อันจะส่งผลให้คุณภาพงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการ เพราะระบบงานสามารถเชื่อมโยงข้อมูลหรือออกรายงานข้อมูลไปใช้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตามความจำเป็นเพื่อบริการข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แอพพลิเคชั่นงานบุคคลได้ ทุกสถานที่ ทุกเวลา สำหรับขอบเขตระบบงานสารสนเทศงานบุคคลนั้น ประกอบไปด้วย 16 ระบบงานย่อย (โมดูล) ได้แก่ ระบบบริหารจัดการโครงสร้างองค์กร ระบบอัตรากำลัง ระบบสรรหาและคัดเลือก ระบบบรรจุและแต่งตั้ง ระบบทะเบียนประวัติ ระบบเงินเดือนและค่าตอบแทน ระบบสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูล ระบบพัฒนาบุคลากร ระบบประเมิน ระบบความก้าวหน้าในอาชีพ ระบบบันทึกเวลาปฏิบัติงานและการลา ระบบการขึ้นเงินเดือน ระบบวินัย ระบบบริหารข้อมูลบริการตนเอง ระบบบริการข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ และแอบพลิเคชั่นงานบุคคล ซึ่งปัจจุบันเปิดใช้งานในในเฟสแรกสำหรับผู้ดูแลระบบแล้วจำนวน 4 ระบบ คือ ระบบบริหารจัดการโครงสร้างองค์กร ระบบทะเบียนประวัติ ระบบอัตรากำลัง ระบบบรรจุและแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565