ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร จัดกิจกรรมสงกรานต์ สืบสานประเพณีไทย

เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมประเพณีไทยเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ โดยมีการจัดกิจกรรมสรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ณ ห้องส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรภายในส่วนงาน

บรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเอง สมาชิกส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรได้ร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูปเพื่อความเป็นสิริมงคลในวันปีใหม่ไทย จากนั้นได้ร่วมกันรดน้ำดำหัว ดร. เปรมฤดี นุ่นสังข์ รักษาการแทนหัวหน้าส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือของส่วนงาน เพื่อขอพรและแสดงความเคารพ

กิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการสืบสานประเพณีไทยแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรภายในส่วนงาน ทำให้เกิดความสามัคคีและความผูกพันกันมากยิ่งขึ้น

 

#สงกรานต์ #มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ #ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร #สืบสานประเพณีไทย

อบรมการจัดทำผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพสำหรับพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป รุ่นที่ 1 ครั้งที่ 4

เมื่อวันที่ 2-3 เมษายน 2567 ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรได้จัดอบรมการจัดทำผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพสำหรับพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป รุ่นที่ 1 ขึ้น ซึ่งการอบรมครั้งนี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 โดยวิทยากร ดร. จรงค์ศักดิ์ พุมนวน ได้เดินทางมาอบรมให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ ห้องหัวตะพาน อาคาร A ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระหว่างเวลา 9.00 – 16.00 น.

ในการอบรมครั้งนี้ ในวันที่ 2 เมษายน 2567 วิทยากรได้ให้คำปรึกษากับผู้เข้าร่วมอบรมที่นำส่งคู่มือการปฏิบัติงานแบบตัวต่อตัว และในวันที่ 3 เมษายน 2567 วิทยากรได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำงานวิเคราะห์วิจัย ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับผู้ร่วมฝึกอบรมอย่างยิ่ง

อบรมหลักสูตร “การใช้ ChatGPT ในการพัฒนาศักยภาพการวิจัยสำหรับอาจารย์ใหม่”

ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดฝึกอบรมหลักสูตร “การใช้ ChatGPT ในการพัฒนาศักยภาพการวิจัย สำหรับอาจารย์ใหม่” ขึ้นในในวันพุธที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 9.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมภัทรธรรมาภรณ์ ชั้น 9 อาคาร C ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โดยกลุมเป้าหมายในการอบรมครั้งนี้คืออาจารย์ใหม่ที่มีอายุงานไม่เกิน 2 ปี ที่ยังไม่มีประสบการณ์หรือมีประสบการณ์ยังไม่มากนักในการใช้ Generative Ai มีรูปแบบการอบรมแบบบรรยายสรุป แสดงตัวอย่าง Use Cases และแนะนำวิธีการใช้งาน

โดยมี ผศ.ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร (ผู้ช่วยอธิการบดี) เป็นวิทยากร และ นางนวพร ไชยเสน ผู้ช่วยวิทยากร มีผู้ร่วมฝึกอบรมทั้งสิ้น 34 คน

ประชุมคณะกรรมการกลาง 5ส Green ประจำเดือนมีนาคม

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 คณะกรรมการ 5ส Green มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ประชุมประจำเดือนมีนาคม ผ่านระบบ Zoom Clouds Meeting ระหว่างเวลา 12.00-13.00 น.
โดย รศ.ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ ประธานคณะกรรมหาร 5ส Green เป็นประธานในการประชุม ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม 72 accounts

ผู้บริหาร มวล. เข้าร่วมโครงการ นบส.มวล. และลงนาม MOU กับ ม. แม่ฟ้าหลวง

คณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ในโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพนักบริหารการศึกษาระดับสูง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” (นบส.มวล.) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยได้รับการต้อนรับจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัชฌิมา นราดิศร อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ คณะผู้บริหารของม.แม่ฟ้าหลวงร่วมต้อนรับอย่างอบอุ่น

โอกาสนี้ คณะผู้บริหารจากทั้งสองมหาวิทยาลัยได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน และความสำเร็จในด้านต่างๆ ของแต่ละมหาวิทยาลัย รวมไปถึงหารือแนวทางความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต

ลงนาม MOU ร่วมมือวิจัย การศึกษา และบริการวิชาการ

ภายหลังการศึกษาดูงาน คณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการวิจัย การศึกษา เเละการบริการทางวิชาการของทั้ง2 สถาบัน โดยมีข้อตกลงความร่วมมือในเรื่องต่างๆประกอบด้วย การร่วมมือในโครงการวิจัยเเละพัฒนาภายใต้หัวข้อหรือเรื่องที่ได้เห็นชอบ ซึ่งทัังสองฝ่ายจะตกลงกันในรายละเอียดของเเต่ละโครงการ ตลอดจนการสนับสนุนด้านการแลกเปลี่ยนอาจารย์ และนักศึกษา การประชุมสัมมนาวิชาการ และการจัดบริการทางวิชาการให้กับนักศึกษา องค์กร เอกชน ชุมชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจ เพื่อเสริมสร้าง ความรู้ และความเข้าใจในศาสตร์ต่างๆ ภายใต้กรอบระยะเวลา 5 ปี

การลงนาม MOU ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองมหาวิทยาลัย ในการร่วมกันพัฒนาองค์กร ส่งเสริมงานวิชาการ และสร้างประโยชน์ต่อสังคม

ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมรับการตรวจประเมิน 5ส

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร นำโดย ดร. เปรมฤดี นุ่นสังข์ รักษาการแทนหัวหน้าส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ได้ร่วมกันเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจประเมิน 5ส ประจำปี 2567 แม้ว่าในปีนี้ หน่วยงานจะได้รับการยกเว้นจากการตรวจประเมิน (N/A) เนื่องจากยังคงปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานชั่วคราวที่อาคารหลักกำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ทีมงานส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทำงาน จึงได้ร่วมกันจัดเตรียมสถานที่ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 5ส ที่กำหนด โดยมุ่งเน้นไปที่หลักการ “สะสาง สะอาด สะดวก” เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อต่อประสิทธิภาพและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน

การดำเนินการดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ในการรักษามาตรฐาน 5ส แม้จะไม่ได้ถูกกำหนดให้เข้าร่วมการประเมินในปีนี้ สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและความเป็นระเบียบเรียบร้อย

 

#5ส #มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ #ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร #ความเป็นระเบียบเรียบร้อย

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดโอกาสพัฒนาบุคลากร สู่ความเป็นเลิศในสายอาชีพ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายและเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปมีความก้าวหน้าในอาชีพ ตามยุทธศาสตร์การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพและองค์กรสมรรถนะสูง

โครงการฝึกอบรม: ก้าวสำคัญสู่ความสำเร็จ

เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายดังกล่าว มหาวิทยาลัยได้จัดโครงการฝึกอบรม “การจัดทำผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ” สำหรับพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปที่มีอัตราเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่ง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ในการจัดทำผลงานเพื่อขอเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งบุคลากรและองค์กร

เนื้อหาหลักสูตรเข้มข้น ครอบคลุมทุกมิติ

หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน โดยมีเนื้อหาที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนของการจัดทำผลงานเพื่อขอเลื่อนขั้น เช่น

  • หลักเกณฑ์และวิธีการ: อธิบายถึงหลักเกณฑ์และขั้นตอนต่างๆ ในการขอเลื่อนขั้นตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
  • การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน: สอนวิธีการเขียนคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและครอบคลุม
  • การจัดทำผลงานวิจัยจากงานประจำ (R2R): สอนเทคนิคและวิธีการนำงานประจำมาพัฒนาเป็นงานวิจัยหรืองานวิเคราะห์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับงาน

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

เพื่อให้การอบรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยได้เชิญ นายจรงศักดิ์ พุมนวน นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มาเป็นวิทยากร โดยท่านมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการจัดทำผลงานวิจัยและงานวิเคราะห์อย่างยาวนาน

กำหนดการอบรม

  • รุ่นที่ 1: วันที่ 3 มกราคม – 2 เมษายน 2567 (อบรม 8 ครั้ง)
  • รุ่นที่ 2: วันที่ 6 มิถุนายน – 2 สิงหาคม 2567 (อบรม 8 ครั้ง)
  • สถานที่: ห้องประชุมหัวตะพาน โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์






















































































อบรมการจัดทำผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพสำหรับพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป (รุ่นที่ 1) R2R ครั้งที่ 2

วันที่ 23 มกราคม 2567 ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรการจัดทำผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพสำหรับพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป รุ่นที่ 1 เป็นครั้งที่ 2 ในรูปแบบการฝึกอบรม Online ผ่านระบบ Zoom Clouds Meeting ซึ่งในวันดังกล่าวมีการฝึกอบรมหัวข้อ การวิเคราะห์ปัญหาจากงานประจำและพัฒนาเป็นงานวิจัยหรืองานวิเคราะห์ (Routine to Research=R2R)

บรรยายโดย ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน (บรรณาธิการ วารสารวิชาการ ปขมท. นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)

อบรมการจัดทำผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพสำหรับพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป (รุ่นที่ 1) คู่มือ ครั้งที่ 2

วันที่ 15 มกราคม 2567 ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรการจัดทำผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพสำหรับพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป รุ่นที่ 1 เป็นครั้งที่ 2 ในรูปแบบการฝึกอบรม Online ผ่านระบบ Zoom Clouds Meeting ซึ่งในวันดังกล่าวมีการฝึกอบรมหัวข้อการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน

บรรยายโดย ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน (บรรณาธิการ วารสารวิชาการ ปขมท. นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)

อบรมการจัดทำผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพสำหรับพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป (รุ่นที่ 1) R2R ครั้งที่ 1

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปมีความก้าวหน้าในอาชีพ โดยได้สนับสนุนให้มีการจัดฝึกอบรม หลักสูตร “การจัดทำผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ให้พนักงานผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะทางวิชาชีพ 2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ฝึกปฏิบัติ (workshop) การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน และ 3) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาจากงานประจำและพัฒนาเป็นงานวิจัยหรืองานวิเคราะห์ได้ (Routine to Research=R2R)

โดยได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยากรระดับประเทศ ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน (บรรณาธิการ วารสารวิชาการ ปขมท. นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) 

การฝึกอบรมจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในรูปแบบ Onsite และ Online ในระหว่างวันที่ 3 มกราคม – 3 เมษายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งในการฝึกอบรม รุ่นที่ 1 มีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมทั้งสิ้น 42 คน