การฉีดวัคซีน Astra Zeneca เข็มที่ 2 สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรขอแจ้งกำหนดการณ์ฉีดวัคซีน Astra Zeneca เข็มที่ 2 สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจัดสรรให้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และขอให้พนักงานทุกท่านตรวจสอบรายชื่อ วันเวลาคิวฉีด และลำดับของตนเองเพื่อความรวดเร็วและความคล่องตัวเมื่อเข้ารับบริการ โดยกำหนดการฉีดวัคซีน Astra Zeneca เข็มที่ 2 ให้แก่พนักงาน มวล. จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม 2564 – วันอังคาร ที่ 5 ตุลาคม 2564 ณ โถงอาคาร A (อาคารหลังใหม่) ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แบบคัดกรองฉีดวัคซีน COVID19

Print รูปแบบหน้า-หลังและกรอกข้อมูล

ข้อควรปฏิบัติก่อน-หลังการฉีดวัคซีน COVID-19

การเตรียมตัวก่อนและหลังการฉีดวัคซีน

ข้อควรปฏิบัติก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน

หลังเข้ารับการฉีดวัคซีน

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ มียาประจำที่ต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากเจ็บป่วย มีไข้ ไม่สบาย ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารให้เรียบร้อย หากมียารักษาโรคประจำตัวก็ให้รับประทานได้เลย
  • ถ้าใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือด กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ ณ จุดลงทะเบียน
  • สำหรับผู้ป่วยที่ทานยากลุ่ม Warfarin และไม่มีประวัติการรักษาหรือมีผล INR ที่โรงพยาบาลรามคำแหง ภายใน 1 เดือน ก่อนวันฉีดวัคซีน กรุณานำผล INR มาแจ้งด้วยตัวท่านเอง (ถ้าไม่สามารถระบุผล INR ได้ ทางโรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์พิจารณาเลื่อนหรือยกเลิกการฉีดวัคซีนของท่าน)
  • ฉีดวัคซีน COVID-19 ห่างจากการฉีดวัคซีนอื่น 4 สัปดาห์
  • กรณีตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ และโรงพยาบาลของดการฉีดวัคซีน

     

 

 

 

ที่มา 

Source: https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/848
© โรงพยาบาลรามคำแหง 

  • พักรอดูสังเกตอาการที่โรงพยาบาลหรือจุดที่ฉีดวัคซีน 30 นาทีอย่างเคร่งครัด อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้น เช่น 

1. อาการไม่รุนแรง สามารถหายได้เองภายใน 3 วัน เป็นอาการทั่วๆ เช่น มีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ หรือปวด บวม แดง คันหรือซ้ำบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรือมีอาการชาเฉพาะที่

2. อาการรุนแรง พบได้ไม่บ่อยหรือพบได้น้อย เช่น มีก้อนบริเวณที่ฉีดยา เวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น  ปวดท้อง อาเจียน ความอยากอาหารลดลง เหงื่อออกมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชักหมดสติ อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล 

3. อาการแพ้วัคซีน เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง ความดันตก หลอดลมตีบ หายใจลำบาก มีผื่นขึ้นตามตัว หากพบว่ามีอาการรุนแรง หลังการฉีดวัคซีนควรรีบพบแพทย์ทันที่

  • พยายามอย่าเกร็งแขนข้างที่ฉีดวัคซีน หรือใช้แขนยกของหนักๆ อย่างน้อย 2 วัน
  • ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก ให้รับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด และรับประทานซ้ำได้โดยห่างกัน 6 ชั่วโมง (ห้ามรับประทานยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด)
  • เมื่อพักรอดูอาการครบ 30 นาที เจ้าหน้าที่จะทำการวัดความดันโลหิตอีกครั้งก่อนกลับ และเมื่อกลับบ้านแล้วยังต้องสังเกตอาการของตัวท่านเองต่ออีก 48-72 ชั่วโมง หากพบอาการผิดปกติที่รุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

รายชื่อและลำดับคิวการฉีดวัคซีน Sinopharm ณ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564 – วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564

โถงอาคาร A (อาคารหลังใหม่) ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  • ตรวจสอบรายชื่อและลำดับที่ในการเข้ารับการฉีดวัคซีนและจดจำลำดับของตนเอง
  • ดาวน์โหลดแบบคัดกรอง (พิมพ์หน้า-หลัง) กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
  • ลงทะเบียนฉีดวัคซีน โดยใช้บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง (กรณีชาวต่างประเทศ)  ก่อนเวลานัด ๓๐ นาที

แบบคัดกรองฉีดวัคซีน COVID-19

พิมพ์หน้าหลัง กรอกข้อมูลให้เรียบร้อยก่อนถึงจุดลงทะเบียน

Link สำหรับตรวจสอบลำดับและคิวฉีดวัคซีน

กด Ctrl+F แล้วพิมพ์ชื่อค้นหา กรุณาจดจำลำดับและวันฉีดวัคซีนของตนเองเพื่อความรวดเร็วในการให้บริการ