การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

             เพื่อให้แผนการบริหารงานบุคคล มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ฝ่ายบริหารและส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการปรับปรุงข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศเกี่ยวกับงานบุคคล เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อเป็นกลไกการสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ขอมหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันการศึกษากลุ่มที่สร้างองค์ความรู้แห่งอนาคต (frontier research) และเป็น “1 ใน 100 มหาวิทยาลัยของโลก ในปี พ.ศ. 2570” โดยที่การดำเนินงานตามนโยบายการบริหารงานบุคคล ตามที่สภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารงานบุคคล และฝ่ายบริหารมอบหมายให้ดำเนินการ สรุปภาพรวมในด้านต่าง ๆ ดังนี้

การวางแผนทรัพยากรบุคคล
1. การวางแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล
เนื่องจากยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง จึงกำหนดเป้าประสงค์ให้พัฒนาทุนมนุษย์สู่องค์กรสมรรถนะสูง และด้วยเหตุที่ปัจจุบันเกิดภาวะการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันสูง ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงกำหนดนโยบายและมอบหมายให้ฝ่ายบริหารและส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารงานบุคคลให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย โดยให้ทุกฝ่ายทั้งผู้บริหารและบุคลากรในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมวิเคราะห์กำหนดแผน และในขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมจัดสัมนาเชิงปฏิบัติการ กำหนดแผนกลยุทธ์การบริหารงานบุคคล นำเครื่องมือ SWOT ANALYSIS มาใช้ดำเนินการ เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ทั้งมิติของจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค แล้วนำมาวิเคราะห์โดยคณะทำงานชุดที่เกี่ยวข้อง และกำหนดเป็นแผนงานใช้ดำเนินการ ในรูปแบบของ PDCA (Plan/ Do/ Check/ Action) ต่อไป

2. การวิเคราะห์ภาระงานและอัตรากำลัง
มีการวิเคราะห์ภาระงานและอัตรากำลัง โดยคณะกรรมการตามองค์ประกอบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ตามระบบ Workforce Planning คำนึงถึงเป้าหมายองค์กรระดับมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน ให้หน่วยงานเสนอหลักการและเหตุผลตามความจำเป็นหรือเสนอทั้ง “แผนงาน แผนเงิน และแผนคน” เพื่อให้ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์การพัฒนา และคณะกรรมการชุดดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสม แล้วกำหนดเป็นแผนกรอบอัตรากำลัง เพื่อสรรหาและคัดเลือกพนักงานสายวิชาการ และสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ให้เป็นตามสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งตามแผนการประชุมคณะกรรมการ กำหนดเดือนละ 1 ครั้ง และในรอบปีจัดประชุมตามแผนปกติ รวม 12 ครั้ง และกำหนดกรอบอัตรากำลังไว้เป็นแผนดำเนินงานด้านบุคลากรที่บรรจุอยู่ในแผนการใช้งบประมาณด้วย

3. การปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงาน
เพื่อให้โครงสร้างการแบ่งส่วนงานและกำหนดกรอบตำแหน่งพนักงานมีความสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ 208/2563 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 แต่งตั้งคณะทำงานกำหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนงานและกำหนดกรอบตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยให้คณะทำงานมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาทบทวน วิเคราะห์ พัฒนาโครงสร้างการแบ่งส่วนงานเดิม และปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อกำหนดกรอบตำแหน่งพนักงานเสนอต่อมหาวิทยาลัยพิจารณาตามกระบวนการต่อไป

4. การปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ ระเบียบและประกาศ
มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ ระเบียบและประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารงานบุคคลในปีงบประมาณ 2563 รวมจำนวน 37 ฉบับ คือ

ประกาศ : หลักเกณฑ์การให้ทุนสนับสนุนบางส่วนเพื่อการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ต่างประเทศ สำหรับคณาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ.2563 (Y-S2563/003)
ประกาศ : ทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับพนักงานสายวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ.2563 (Y-S2563/002)
ประกาศ : หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาการจ้างอาจารย์สัญญาจ้าง พ.ศ.2563 (Y-G2563(02)/182)

ประกาศ : หลักเกณฑ์การจ้างการทดลองปฏิบัติงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาการจ้างพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป พ.ศ.2563 (Y-G2563(02)/181)

ประกาศ : หลักเกณฑ์และวิธีการจ้างอาจารย์ชาวต่างประเทศที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาตรี พ.ศ.2563 (Y-G2563(02)/180)

ประกาศ : หลักเกณฑ์การกำหนดค่าประสบการณ์การทำงานและการจ่ายเงินเพิ่มวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563 (Y-G2563(02)/179)

ประกาศ : หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษด้านภาษาอังกฤษให้แก่พนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563 (Y-G2563(02)/175)

ประกาศ : หลักเกณฑ์การได้รับรางวัลอาจารย์ดาวรุ่ง พ.ศ.2563 (Y-G2563(02)/165)

ประกาศ : หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาการจ้างพนักงานสายวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563 (Y-G2563(01)/080)

ประกาศ : การพัฒนาพนักงานสายวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ.2563 (Y-G2563(01)/074)

ประกาศ : อัตราค่าบำรุงส่วนกลางประจำที่พักบุคลากร พ.ศ.2563 (Y-G2563(01)/065)

ประกาศ : หลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพตำราหรือหนังสือพ.ศ.2563 (Y-G2563(01)/064)

ประกาศ : การจ้างอาจารย์สัญญาจ้างกรณีอื่น ๆ พ.ศ.2563 (Y-G2563(01)/062)

ประกาศ : มาตรการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID – 19 (Y-G2563(01)/061)

ประกาศ : การบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงานชาวต่างประเทศ พ.ศ. 2563 (Y-G2563(01)/036)

ประกาศ : การปรับอัตราค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราว พ.ศ. 2563 (Y-G2563(01)/033)

ประกาศ : การบริหารงานบุคคลพนักงานวิสาหกิจมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ฉบับที่2) พ.ศ.2563 (Y-G2563(01)/031)

ประกาศ : หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน ประจำปีงบประมาณ 2563 (Y-G2562(5)/420)

ประกาศ : หลักเกณฑ์การกำหนดค่าประสบการณ์การทำงานและการจ่ายเงินเพิ่มวิชาชีพ พ.ศ.2562 (เพิ่มเติมด้วยประกาศมวล.ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2563) (Y-G2562(4)/368)

ประกาศ : โรคที่มีลักษณะต้องห้ามเป็นพนักงานและลูกจ้างของมหาวิทยลัยการตรวจสุขภาพร่างกายและการตรวจทางจิตวิทยา พ.ศ.2562 (Y-G2562(4)/367)

ประกาศ : หลักเกณฑ์และวิธีการปรับวุฒิ การเปลี่ยนตำแหน่ง การย้าย การตัดโอนตำแหน่งและการยืมตัวพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ.2562 (Y-G2562(4)/364)

ประกาศ : หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน พ.ศ.2562 (Y-G2562(4)/361)

ประกาศ : มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของพนักงานสายวิชาการ ผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ประจำปีงบประมาณ 2563 (Y-G2562(4)/360)

ประกาศ : กำหนดหลักเกณฑ์ด้านภาษาอังกฤษในการสมัคร สอบคัดเลือก และบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 (Y-G2562(4)/304)
ประกาศ : การแบ่งส่วนงานของสำนักงานอธิการบดี สำนักวิชา สถาบัน ศูนย์หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2563 (สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ,สำนักวิชาศิลปศาสตร์,สำนักวิชาแพทยศาสตร์,สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี) (Y-G2563(03)/202)

ประกาศ : การจัดสรรวงเงินการขึ้นเงินเดือนพนักงาน ประจำปีงบประมาณ 2563 ตามผลการประเมินหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ 2562 (Y-G2562(3)/293)
ประกาศ : การแบ่งส่วนงานของสำนักงานอธิการบดี สำนักวิชา สถาบัน ศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562 (สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป) (Y-G2562(4)/389)

ประกาศสภามวล. : การกำหนดอัตราค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสัมผัสร่างอาจารย์ใหญ่ พ.ศ.2563 (Y-C2563/015)

ประกาศสภามวล. : ค่าตอบแทนพิเศษพนักงานและลูกจ้างสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษพ.ศ.2563 (Y-C2563/014)

ประกาศสภามวล. : หลักเกณฑ์การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้พิการเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2563 (Y-C2563/001)

ข้อบังคับ : ว่าด้วยการจ้างอาจารย์สัญญาจ้างปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2563 (W2563/003)

ข้อบังคับ : ว่าด้วยกองทุนสวัสดิการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ.2563 (W2563/002)

ข้อบังคับ : ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนศาสตราจารย์เกียรติคุณ พ.ศ.2563 (W2563/001)

ข้อบังคับ : ว่าด้วยคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 (W2562/010)

ระเบียบ : ว่าด้วยกฎบัตรการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงาน และการตรวจสอบภายใน พ.ศ.2563 (V2563/002)

ระเบียบ : ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ้าง การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาการจ้างและการสิ้นสุดสัญญาจ้างของพนักงานตำแหน่งวิชาการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 (V2563/001)

ระเบียบ : ว่าด้วยการให้การสงเคราะห์บุตรของบุคลากรมหาวิทยาลัยที่เสียชีวิต พ.ศ.2562 (V2562/009)

การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
             มหาวิทยาลัยมีการกำหนดเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร ซึ่งได้ดำเนินการตามระเบียบมหาวิทยาลัยว่าด้วยการสรรหา การเลือกสรร การคัดเลือกและการทดลองปฏิบัติงาน พ.ศ.2535 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการจ้างอาจารย์สัญญาจ้างปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2561 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นศาสตราภิชาน มีการตั้งคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป โดยกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการได้เสนอผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานบุคคลและสภามหาวิทยาลัยให้การเห็นชอบองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกโดยจัดทำเป็นประกาศอย่างชัดเจนและในการดำเนินการสรรหาและคัดเลือกได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเป็นไปตามองค์ประกอบที่กำหนดทุกครั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตามตำแหน่งที่ประกาศรับ พร้อมทั้งมีการประกาศรับสมัครผ่านช่องทางต่าง ๆ และแจ้งผลการดำเนินการตามระเบียบ ประกาศที่กำหนดโดยเปิดเผยทั่วไป ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการสรรหา คัดเลือกและบรรจุบุคลากรเข้าปฏิบัติหน้าที่แล้ว รวมจำนวน 96 ราย (ข้อมูล ณ สิ้นไตรมาส 2) ดังนี้ 1) สายบริหาร จำนวน 13 ราย 2) สายวิชาการ จำนวน 54 ราย และ 3) สายปฏิบัติการ จำนวน 29 ราย

การบริหารผลการปฏิบัติงาน
            มหาวิทยาลัยใช้กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานประจำปีมีการมอบหมายงานจากระดับนโยบายลงสู่ระดับปฏิบัติการ มอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้บังคับบัญชาติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน ใช้วิธีการประเมินแบบวัตถุวิสัยและการสร้างทีมงาน (Objective and Teamwork Assessment) ซึ่งประเมินทั้งระดับบุคคลและระดับหน่วยงานและนำผลการประเมินไปใช้ประกอบการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบการขึ้นเงินเดือนประจำปี,การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ,การชื่นชมคุณค่าบุคลากรโดยประกาศรายชื่อพนักงานที่ได้รับผลการประเมินระดับดีเยี่่ยมให้ประชาคมวลัยลักษณ์ทราบโดยทั่วกันและมีแนวทางการกระตุ้นส่งเสริมให้พนักงานสายวิชาการตำแหน่งอาจารย์มีขวัญและกำลังใจพัฒนางานทางวิชาการ สนับสนุนการจัดการศึกษา การวิจัยโดยกำหนดเกณฑ์การให้รางวัลอาจารย์ดาวรุ่งและอยู่ระหว่างการปรับปรุงเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษพนักงานที่มีผลงานตามเกณฑ์พรีเมียม

การพัฒนาบุคลากร
1. การพัฒนาอาจารย์ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพระดับอุดมศึกษาของประเทศอังกฤษ (The UK Professional Standards Framework, UKPSF)
           ตามที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยได้กำหนดไว้ในนโยบายปฏิรูปการจัดการเรียนและการสอนซึ่งสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ให้ความเห็นชอบ ซึ่งนโยบายดังกล่าวมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้การผลิตบัณฑิตมีคุณภาพ และสามารถแข่งขันในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำแนวหน้าระดับโลก (Global and Frontier Research) เป็น 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยของโลก ในปี พ.ศ. 2570 นั้น มหาวิทยาลัยจึงได้เร่งดำเนินการตอบสนองนโยบายเร่งด่วนของสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของพนักงานสายวิชาการของมหาวิทยาลัย ในการจัดอบรมหลักสูตรกรอบมาตฐานวิชาชีพเพื่อการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของประเทศอังกฤษ หรือ The UK Professional Standards Framework (UKPSF) ประเทศสหราชอาณาจักร เพื่อประเมินและรับรองหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพการสอนของคณาจารย์ให้กับพนักงานสายวิชาการเสร็จสิ้นแล้วจำนวน 3 รุ่นๆ ละ 60 คน และปัจจุบันอยู่ระหว่างกระบวนการจัดอบรมรุ่นที่ 4 อีกทั้งได้จัดอบรมหลักสูตรเส้นทางสู่การเป็นอาจารย์มืออาชีพตามกรอบมาตรฐานระบบสากล Pre-UKPSF ให้กับคณาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติแล้วเสร็จจำนวน 6 รุ่น ทั้งนี้ จากการจัดอบรมดังกล่าวส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีจำนวนพนักงานสายวิชการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานวิชาชีพเพื่อการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของประเทศอังกฤษ หรือ The UK Professional Standards Framework (UKPSF) จำนวน 164 คน โดยแยกเป็นการได้รับการรับรองระดับ Senior Fellow จำนวน 38 คน และ ระดับ Fellow จำนวน 126 คน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รับการรับรองสูงที่สุดในประเทศไทยและมีจำนวน Fellowship มากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก (ไม่นับรวมประเทศอังกฤษ)

2. การพัฒนาศักยภาพและการพัฒนาคุณวุฒิของพนักงานสายวิชาการ
            ในส่วนของการพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรสายวิชาการนั้น มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและการพัฒนาคุณวุฒิของพนักงานสายวิชาการที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาโทให้มีวุฒิระดับปริญญาเอกจำนวนมากขึ้น โดยการสนับสนุนทุนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และทุนที่ได้รับการจัดสรรจากหน่วยงานภายนอก พร้อมทั้งมีการสนับสนุนพัฒนาศักยภาพโดยการให้ไปฝึกอบรม ดูงานและปฏิบัติการวิจัย เพื่อให้พนักงานสายวิชาการได้มีประสบการณ์ทางการวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และสามารถนำความรู้มาพัฒนาการเรียนการสอนในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรทุนการศึกษา ดังนี้

1. ทุนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่มีการจัดสรรประจำปีงบประมาณ

1.1 โครงทุนสนับสนุนบางส่วนเพื่อการศึกษาต่อระดับปริญญาสำหรับคณาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
1.2 โครงการทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับพนักงานสายวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
1.3 โครงการพัฒนาอาจารย์ระดับปริญญาโทเพื่อศึกษาในประเทศและต่างประเทศสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยม
1.4 โครงการพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพื่อรองรับการพัฒนาคุณวุฒิพนักงานสายวิชาการให้มีการพัฒนาคุณวุฒิในช่วงเวลาที่จำเป็น

2. ทุนหน่วยงานภายนอก ซึ่งเป็นทุนที่ได้รับการจัดสรรตามความต้องการของมหาวิทยาลัยในแต่ละปี และการจัดสรรทุนจะเป็นไปตามกระบวนการคัดเลือกของหน่วยงานที่เป็นเจ้าของทุนและแหล่งทุน ดังนี้

2.1 ทุนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์)
2.2 ทุนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
2.3 ทุนรัฐบาลต่างปรเทศ หรือทุนหน่วยงานภายนอก

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีพนักงานสายวิชาการและนักเรียนทุนอยู่ระหว่างศึกษาต่อ ฝึกอบรมเฉพาะทางทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้

หน่วยงานปริญญาเอกฝึกอบรมวุฒิบัตร

ฝึกอบรม

แพทย์ประจำบ้าน

1. สำนักวิชาศิลปศาสตร์5
2. สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์3
3. สำนักวิชาการจัดการ5
4. สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์7
5. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์3
6. สำนักวิชาสหเวชศาสตร์11
7. สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์3
8. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์4
9. สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ4
10.สำนักวิชาเภสัชศาสตร์103
11.สำนักวิชาแพทยศาสตร์211
12.สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป2
13. วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัคราชกุมารี5
รวม64311

3. การสนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้นตามความจำเป็นของแต่หน่วยงาน (Individual Development Plan)
             ในส่วนของการจัดหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพในการทำงานแก่บุคลากรในลักษณะเป็น In house training ประจำปีงบประมาณ 2563 นั้น มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มีการจัดการเรียนรู้และพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ให้มีความเหมาะสมกับพนักงานแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยได้กำหนดวงเงินงบประมาณเพื่อการดังกล่าวไว้ที่ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรซึ่งในปีนี้มีหน่วยงานเสนอขอจัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาศักยภาพในการทำงานแก่บุคลากร จำนวน 13 หน่วยงาน โดยแยกเป็น 39 หลักสูตร ดังนี้

 

หน่วยงาน

 

หลักสูตร

ระยะเวลาดำเนินการ

1. สำนักวิชาพหุภาษาและศึกษาทั่วไป

1. โครงการเสริมสร้างสมรรถนะการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานสายวิชาการ  (English for faculty)

2. โครงการเสริมสร้างสมรรถนะการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานสายปฏิบัติการ (English for Staff)

ไตรมาส 2 – 4

ไตรมาส 2 – 4

2. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้งาน Weometric

2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้งาน WordPress

3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้งาน WordPress For Admin

4. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้งาน Infographic

5. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้งาน การใช้งานระบบ E-Testing เพื่อการจัดสอบ Online

ไตรมาส 2

ไตรมาส 2

ไตรมาส 2

ไตรมาส 3

ไตรมาส 2 – 4

 

3. ศูนย์บริการวิชาการ

1. โครงการอบรมเรื่องการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้านรับใช้สังคม

ไตรมาส 2 – 3

4. ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ1. โครงการอบรมหลักสูตรคณาจารย์นิเทศสหกิจไตรมาส 2

5. ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน

1. โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามเกณฑ์ ASEAN University Network Quality Assurance (AUN-QA / WUQA-P) ประจำปีงบประมาณ 2563

2. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การพัฒนาหลักสูตรและ จัดการเรียนการสอนตามแนวทาง Outcome-Based Education (OBE)”

3. โครงการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ เรื่องการเขียน course syllabus ตามกรอบมาตรฐาน UKPSF

4. อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร Pre-UKPSF และการเขียน Application

5. โครงการอบรมกรอบมาตรฐานวิชาชีพเพื่อการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของประเทศอังกฤษ [The UK Professional Standards Framework (UKPSF)] รุ่นที่ 4

ไตรมาส 2 – 4

ไตรมาส 2

ไตรมาส 2

ไตรมาส 3

ไตรมาส 2 – 4

6. ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสืบค้นฐานข้อมูลวิจัย

2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดการอ้างอิงและบรรณานุกรมนุกรมด้วยโปรแกรม EndNote

3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้งานห้องเรียน Smart Classroom ระดับ Basic

4. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้งานห้องเรียน Smart Classroom ระดับ Advance

5. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการบันทึกการเรียนการสอนด้วยตนเองอย่างง่ายด้วยอุปกรณ์ Swivl Robot

6. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการผลิตสื่อการสอนอย่างง่ายด้วยตนเอง

7. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากไฟล์ Power Point สำหรับ e- Learning

8. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้ Application สำหรับทดสอบและประเมินผลภายในห้องเรียน Smart Classroom

9. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการผลิตภาพ Graphic เพื่อประกอบสื่อ และเอกสารประกอบการสอนขั้นต้น

10. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้าง e-book ง่าย ๆ ด้วยตนเอง

11. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างวีดิโออย่างง่ายด้วยมือถือ เทคนิคการสร้างวิดีโออย่างง่ายด้วยมือถือ

12. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการประยุกต์ใช้ EXCEL เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

13. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องพื้นฐานการถ่ายภาพ ตกแต่งภาพเบื้องต้น และการบริหารจัดการคลังภาพ

14. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้โปรแกรม Turnitin for teacher

ไตรมาส 1 – 4

ไตรมาส 1 – 4

ไตรมาส 2 – 4

ไตรมาส 2 – 4

ไตรมาส 2 – 4

ไตรมาส 1 – 4

ไตรมาส 1 – 4

ไตรมาส 1 – 4

ไตรมาส 2 – 4

ไตรมาส 2 – 4

ไตรมาส 3 – 4

ไตรมาส 3 – 4

ไตรมาส 3 – 4

ไตรมาส 2

7. สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรม1. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การเตรียมต้นฉบับบทความวิจัยไตรมาส 1 – 4

8. สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ

1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเขียนบทความตีพิมพ์ (12+12 ชั่วโมง) เพื่อนักวิจัยหน้าใหม่

2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย 24 ชั่วโมง (เพื่อนักวิจัยหน้าใหม่)

3. โครงการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ Human Subject Protection

ไตรมาส 2

ไตรมาส 3

ไตรมาส 3

9. ส่วนนิติการ

1. โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “กฎหมายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนกับการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ”ไตรมาส 3

10. ส่วนอำนวยการและสารบรรณ

1. โครงการพัฒนาศักยภาพเลขานุการมืออาชีพ

2. โครงการอบรมทักษะมาตรฐานการจัดเลี้ยงรับรอง

ไตรมาส 2

ไตรมาส 2

11. ส่วนกิจการนักศึกษา

1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการให้การปรึกษาเบื้องต้น (basic Counseling) เพื่อการดูแลช่วยเหลือนักศึกษา

ไตรมาส 2 – 4

 

12. ส่วนพัสดุ

1. โครงการอบรมการควบคุม ดูแลและบำรุงรักษาพัสดุ

2. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดระบบคลังย่อย

ไตรมาส 2

ไตรมาส 2

13. หน่วยตรวจสอบภายใน

1. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ  2563

ไตรมาส 2

3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานสายวิชาการดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
           มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนางานทางวิชาการในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ และสามารถขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นการวิจัยอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นที่ยอมรับและ มีความสามารถในการแข่งขันทางวิชาการด้านการวิจัยและนวัตกรรมกับสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมการพัฒนางานทางวิชาการของอาจารย์รุ่นใหม่และอาจารย์ที่ยังไม่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รวมถึงสร้างกลไกส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์แต่ละสำนักวิชาได้ผลิตผลงานทางวิชาการเพื่อใช้ประกอบการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการผ่านรูปแบบต่างๆ เช่น การสนับสนุนทุนวิจัยส่วนบุคคลสำหรับคณาจารย์ใหม่ การสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยผ่านสถานวิจัยของแต่ละสำนักวิชา เป็นต้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีคณาจารย์ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 219 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 โดยแบ่งเป็นตำแนห่งศาสตราจารย์ จำนวน 7 คน 2) รองศาตราจารย์ จำนวน 62 คน และ 3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 150 คน

การบริหารสารสนเทศบุคลากร (Human Resource Information System – HRMS)

             มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้ความสำคัญกับการนำระบบสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยเพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization : HPO) ได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด จึงมีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบซึ่งจะทำให้การดำเนินงานด้านต่าง ๆ เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว เป็นเชิงรุก และประหยัดทรัพยากร โดยมอบหมายให้ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรได้พัฒนาระบบสารสนเทศงานบุคคล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (WU-HRMS : Walailak University Human Resources Management Information System) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางของมหาวิทยาลัยและให้มีระบบปฏิบัติการงานบุคคลตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยให้พนักงานส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรปฏิบัติงานบนระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital platform) อันจะส่งผลให้คุณภาพงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการ เพราะระบบงานสามารถเชื่อมโยงข้อมูลหรือออกรายงานข้อมูลไปใช้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตามความจำเป็นเพื่อบริการข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แอพพลิเคชั่นงานบุคคลได้ ทุกสถานที่ ทุกเวลา สำหรับขอบเขตระบบงานสารสนเทศงานบุคคลนั้น ประกอบไปด้วย 16 ระบบงานย่อย (โมดูล) ได้แก่ ระบบบริหารจัดการโครงสร้างองค์กร ระบบอัตรากำลัง ระบบสรรหาและคัดเลือก ระบบบรรจุและแต่งตั้ง ระบบทะเบียนประวัติ ระบบเงินเดือนและค่าตอบแทน ระบบสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูล ระบบพัฒนาบุคลากร ระบบประเมิน ระบบความก้าวหน้าในอาชีพ ระบบบันทึกเวลาปฏิบัติงานและการลา ระบบการขึ้นเงินเดือน ระบบวินัย ระบบบริหารข้อมูลบริการตนเอง ระบบบริการข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ และแอบพลิเคชั่นงานบุคคล ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์และลิขสิทธิ์และรับสมัครทีมพัฒนาระบบดังกล่าว

ประกาศเกี่ยวกับโครงสร้างการแบ่งส่วนงาน

ข้อกำหนดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักวิชา สถาบัน ศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น พ.ศ. 2565

ข้อกำหนดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักวิชา สถาบัน ศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566

ประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เรื่อง การแบ่งส่วนงานของสำนักงานอธิการบดี สำนักวิชา สถาบัน ศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น พ.ศ. 2565

ประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เรื่อง การแบ่งส่วนงานของสำนักงานอธิการบดี สำนักวิชา สถาบัน ศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566

แนะนำหน่วยงาน

บทนำ


ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นส่วนงานที่รับผิดชอบด้านการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย โดยมีภารกิจหลักในการเป็นศูนย์กลางด้านการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย มีขอบเขตภาระงานหลัก 4 งาน
1. งานบริหารงานทั่วไปและธุรการ (General Administration)
2. งานบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management)
3. งานพัฒนาระบบริหารบุคคล (Management Development)
4. งานพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์กร (Human Resources Development and
Organization Development)

ภารกิจ


       ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร เป็นศูนย์กลางด้านการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยในการ ประสานงานกับบุคลากรของมหาวิทยาลัยมีภารกิจหลักในการประสานและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัยให้ บรรลุผลในทุก ๆ ด้าน โดยประสานงานกับส่วนงานในสำนักวิชา  ศูนย์  สถาบันและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย

วิสัยทัศน์


        เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการที่ดี โดยมุ่งเน้นพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาองค์กร เพื่อเป็นองค์กรธรรมรัฐ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัย

พันธกิจ


เสริมสร้างคนดีมีคุณภาพ ให้คุณค่าบุคลากรโดยยึดหลักงานเพิ่มผลคนเป็นสุข สร้างและปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานที่ดีมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์กรตามหลักการสรรหา พัฒนา รักษาไว้ และใช้ประโยชน์

วัตถุประสงค์


เป็นองค์กรสมรรถนะสูง มุ่งเน้นงานเพิ่มผล คนเป็นสุข

แผนงาน


       จากวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ดังกล่าวส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กรได้กำหนดแผนงานประจำปีไว้ดังนี้

        1. สรรหาคนดี มีความสามารถ มีทัศนคติที่ดี มีคุณภาพและเหมาะสมเข้าร่วมงานในเวลาที่ต้องการ
2. จัดทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถ ศักยภาพ ทักษะและความชำนาญให้กับบุคลากร
3. รักษาบุคลากรที่ดี มีความสามารถ มีทัศนคติและพฤติกรรมที่ดี มีความเหมาะสมและเคารพกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายของมหาวิทยาลัยไว้ให้นานที่สุด
4. พัฒนาระบบความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Development) ให้กับพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป และค่าตอบแทนที่เป็นธรรมตามผลงาน
5. จัดสวัสดิการให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุขในการทำงาน

กลยุทธ์


P – บุคลากร (People) คือ สรรหาพนักงานที่มีค่า มีคุณภาพ มีความสามารถ มีทัศนคติที่ดีและยอมรับกฎ ข้อบังคับ ระเบียบ นโยบาย และพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้เพิ่มขีดความสามารถของตนเองและแนวคิดให้ก้าวหน้าสูงสุด
E – ประหยัด (Economy) คือ ประหยัดในการใช้เวลา ค่าใช้จ่าย วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยและได้ประโยชน์สูงสุดต่อมหาวิทยาลัย โดยสร้างจิตสำนึกให้พนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร
R – รวดเร็ว (Rapid) คือ ปฏิบัติงานทันตามกำหนดและแผนงานของมหาวิทยาลัย Template License
F – ความคล่องตัว (Flexibility) คือ มีการปรับตัวการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้
E & E – ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) คือ กระบวนการทำงานเป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้องและได้ผลงานออกมาตามเป้าหมาย มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กำหนด
C – สร้างสรรค์ (Creation) คือ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆ พัฒนาระบบงาน และตนเองอยู่ตลอดเวลา
T – ทีมงาน (Team) คือ มีความรู้สึกและทัศนคติที่ดีต่องาน มีส่วนร่วมในการทำงานเป็นทีมของมหาวิทยาลัย