เครื่องราชอิสริยาภรณ์

คำถาม ที่พบบ่อย​

Q : ใครที่จะสามารถรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์?

A :      1. จะต้องปฏิบัติงานติดต่อกันอย่างน้อย 5 ปี บริบูรณ์นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษาที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน

2. หากย้ายมาจากหน่วยงานอื่นแห่งอื่นให้นับระยะเวลาต่อกันได้ แต่จะต้องอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เสนอขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์

Q : เพราะอะไรพนักงานบางรายจึงไม่มีรายชื่อในการรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปี 2561?

A : เนื่องจากจำนวนสำรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีน้อยกว่าจำนวนคนที่ได้รับ จึงจัดลำดับเรียงตามอายุงาน และอายุตัวของผู้มีสิทธิ์ได้รับ เช่น

 

นางสาวจริงใจ                         อายุ 40 ปี อายุงาน 15 ปี    

นางสาวใจดี                           อายุ 55 ปี อายุงาน 12 ปี

นางสาวพอใจ                        อายุ 41 ปี อายุงาน 12 ปี

 

หากจำนวนผู้เข้ารับเครื่องราชฯเต็มอัตราแล้ว นางสาวพอใจจะได้รับเครื่องราชฯ ในครั้งถัดไป นั่นหมายความว่าพนักงานที่ไม่มีรายชื่อรับเครื่องราชฯในปี 2561 จะสามารถรับได้ในครั้งถัดไป

Q : ถ้าหากไม่สามารถเข้ารับพระราชทานเครื่องราชฯได้จะต้องทำอย่างไร?

A : ถ้าหากไม่สามารถเข้าร่วมพิธีรับพระราชทานเครื่องราชฯได้หรือไม่ประสงค์จะเข้าร่วมพิธี สามารถมารับสำรับเครื่องราชฯภายหลังได้ที่คุณศิริรัตน์ ทิพรัตน์ โทร 3777

Q : ถ้าได้รับเครื่องราชฯชั้นสูงขึ้น จะต้องคืนเครื่องราชฯชั้นปัจจุบันหรือไม่?

A : ผู้ที่ได้รับเครื่องราชฯ ชั้นสูงขึ้น จะต้องคืนสำรับเครื่องราชฯ ชั้นปัจจุบัน แต่ไม่ต้องคืนประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชฯ สามารถยื่นคืนได้ที่ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร หรือส่งคืนโดยตรงที่ กลุ่มงานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

Q : กรณีอื่นๆที่จะต้องส่งคืนเครื่องราชฯมีอะไรบ้าง?

A :

  1. กรณีผู้ที่ได้รับพระราชทานถึงแก่กรรม โดยให้ทายาทเป็นผู้ส่งคืน แต่ไม่ต้องคืนประกาศนียบัตรกำกับ
  2. กรณีเมื่อทรงพระกรุณาให้เรียกคืน โดยกรณีนี้จะต้องคืนประกาศนียบัตรกำกับด้วย หากไม่สามารถนำเครื่องราชฯมาคืนได้ ให้ชดใช้เงินตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนด